วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำประสม

คำประสม

          คำประสม คือ คำที่เกิดจากการเอาคำมูลที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันเข้าเป็นคำเดียว กลายเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ แต่ยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่ เช่น ลูกเสือ ( นักเรียนที่แต่งเครื่องแบบ ) แสงอาทิตย์( งูชนิดหนึ่งมีเกล็ดสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ซึ่งแปลกกว่างูชนิดอื่น ๆ ) หางเสือ ( ที่บังคับทิศทางเรือ ) แต่ถ้าลูกเสือ หมายถึง ลูกของเสือ แสงอาทิตย์ หมายถึง แสงของดวงอาทิตย์ หางเสือ หมายถึง หางของเสือ อย่างนี้ไม่จัดเป็นคำประสม เพราะไม่เกิดความหมายใหม่ขึ้น จัดเป็นวลีที่เกิดจากการเรียงคำธรรมดาเท่านั้น

          การเกิดคำประสมในภาษาไทย
คำประสมภาษาไทยเกิดขึ้นได้หลายกรณี ดังนี้
. เกิดจากคาไทยประสมกับคาไทย เช่น
ไฟ + ฟ้า = ไฟฟ้า
ตาย + ใจ = ตายใจ
ผัด + เปรี้ยว + หวาน = ผัดเปรี้ยวหวาน

. เกิดจากคาไทยประสมกับคาต่างประเทศ เช่น
ไทย + บาลี = หลัก ( ไทย ) + ฐาน ( บาลี ) - หลักฐาน
ราช ( บาลี ) + วัง ( ไทย ) - ราชวัง
ไทย + สันสฤต = ทุน ( ไทย ) + ทรัพย์ ( สันสฤต ) - ทุนทรัพย์
ตัก ( ไทย ) + บาตร ( สันสฤต ) - ตักบาตร
ไทย + เขมร = นา ( ไทย ) + ดำ ( เขมร = ปลูก ) - นาดำ
นา ( ไทย ) + ปรัง ( เขมร = ฤดูแล้ง ) - นาปรัง
จีน + ไทย = หวย ( จีน ) + ใต้ดิน ( ไทย ) - หวยใต้ดิน
ผ้า ( ไทย ) + ผวย ( จีน ) - ผ้าผวย
ไทย + อังกฤษ = เหยือก ( อังกฤษ - jug ) + นํ้า ( ไทย ) - เหยือกนํ้า
พวง (ไทย ) + หรีด ( อังกฤษ - wreath ) - พวงหรีด

. เกิดจากคาต่างประเทศประสมกับคาต่างประเทศ เช่น
บาลี + จีน - รถ ( บาลี ) + เก๋ง ( จีน ) - รถเก๋ง
บาลี + สันสฤต - กิตติ ( บาลี ) + ศัพท์ ( สันสฤต ) - กิตติศัพท์

จะเห็นว่า คำประสมเกิดขึ้นได้จากการรวมตัวกันระหว่างคำไทยกับคำไทย คำไทยกับคำต่างประเทศ และคำต่างประเทศกับคำต่างประเทศ
          ชนิดของคำที่เอามาประสมกัน คำไทยมีอยู่ ๗ ชนิด คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และ คำอุทาน แต่คำไทยทั้ง ๗ ชนิด นี้มิใช่จะเอามาประสมกันได้ทั้งหมด คำที่ใช้ประสมกันได้เท่าที่ปรากฏ มีดังนี้
. คำนามประสมกับคำนาม
เช่น พ่อตา แม่ยาย ลูกน้อง หน้าม้า
ลิ้นปี่ คอยหอย หีบเสียง กล้วยแขก
แม่นํ้า ราชวัง
. คำนามประสมกับคำกริยา
เช่น นักร้อง หมอดู บ้านพัก เรือบิน
ยาถ่าย รถเข็น ไก่ชน คานหาม
นํ้าค้าง คนเดินตลาด
. คำนามประสมกับคำวิเศษณ์
เช่น นํ้าแข็ง เบี้ยล่าง หัวใส หัวหอม
ใจดี ใจเย็น ม้าเร็ว นํ้าหวาน
ปากเบา ปลาเนื้ออ่อน
. คำนามประสมกับคำลักษณะนาม
เช่น วงแขน วงกบ ดวงหน้า ลูกชิ้น
ดวงใจ เพื่อนฝูง
. คำนามประสมกับคำสรรพนาม
เช่น คุณยาย คุณพระ คุณหลวง
. คำกริยาประสมกับคำกริยา
เช่น ตีพิมพ์ เรียงพิมพ์ พิมพ์ดีด นอนกิน
ฟาดฟัน กันสาด ตีชิง ห่อหมก
เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง
. คำกริยาประสมกับคำวิเศษณ์
เช่น ลงแดง ยินดี ถือดี ยิ้มหวาน
สายหยุด ดูถูก ผัดเผ็ด ต้มจืด
บานเย็น บานเช้า
. คำวิเศษณ์ประสมกับคำวิเศษณ์
เช่น หวานเย็น เขียนหวาน เปรี้ยวหวาน คำขำ
คมขำ คมคาย


การพิจารณาคาประสม

          คำประสมมีลักษณะเป็นกลุ่มคำหรือวลี การพิจารณากลุ่มคำใด ๆ ว่าเป็นคำประสมหรือไม่นั้น สามารถพิจารณาได้จากลักษณะต่อไปนี้
         
          ๑. พิจารณาลักษณะการเรียงคาและความหมาย คำประสมจะเรียงคำหลักไว้ข้างหน้า คำที่เป็นเชิงขยายจะเรียงไว้ข้างหน้า ความหมายที่เกิดขึ้นจะเป็นความหมายใหม่โดยมีเค้าความหมายเดิมอยู่ เช่น
ลูกนํ้า หมายถึง ลูกยุง เป็นคำประสม
ไฟฟ้า หมายถึง พลังงานชนิดหนึ่ง เป็นคำประสม
เบี้ยล่าง หมายถึง เสียเปรียบ เป็นคำประสม
ยิงฟัน หมายถึง การเผยอริมฝีปากให้เห็นฟัน เป็นคำประสม
แต่ถ้าหมายถึงการทำร้ายหรือยิงฟัน ( ฟัน = อวัยวะ ) ก็ไม่เป็นคำประสม
เป็นเพียงวลีธรรมดา เพราะถึงแม้จะเรียงคำเหมือนกันก็ตาม แต่ความหมายไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป
เว้นจังหวะ หมายถึง การหยุดไว้ระยะ ไม่เป็นคำประสม
คนหนึ่ง หมายถึง คน ๆ เดียว ไม่เป็นคำประสม

          ๒. พิจารณาจากลักษณนาม ที่ใช้กับคำที่สงสัยว่าจะเป็นคำประสมหรือไม่โดยลองแยกดูว่า คำลักษณนามนั้นเป็นลักษณนามของทั้งสองคำร่วมกันหรือเป็นของคำหนึ่งคำใดโดยเฉพาะ ถ้าเป็นลักษณนามของทั้งสองคำร่วมกัน กลุ่มคำนั้นก็เป็นคำประสม แต่ถ้าเป็นของคำหนึ่งคำใดโดยเฉพาะ กลุ่มคำนั้นก็ไม่เป็นคำประสม เช่น
ลูกตา คน นี้เสียแล้ว คำว่า ลูกตา ไม่เป็นคำประสม
พิจารณาจากลักษณนามคนเป็นลักษณะนามของตา ซึ่งเป็นคน
ลูกตา ข้าง นี้เสียแล้ว คำว่าลูกตา เป็นคำประสม พิจารณาจากลักษณะนาม
ข้างเป็นลักษณะนามลูกตา ( อวัยวะ )
รถเจ๊ก คน นี้เก่ามาก คำว่า รถเจ๊ก ไม่เป็นคำประสม
รถเจ๊ก คันนี้เก่ามาก คำว่า รถเจ๊ก เป็นคำประสม

. พิจารณาจากความหมายในประโยค หรือดูจากข้อความที่แวดล้อมคำซึ่งเราสงสัย ในประโยคบางประโยค หรือในข้อความบางข้อความ เราไม่สามารถบ่งออกไปได้ทันทีว่าคำใดเป็นคำประสม จนกว่าเราจะได้พิจารณาความหมายของคำนั้นให้ชัดเจนเสียก่อน เช่น ในประโยคต่อไปนี้
. นั่นลูกเลี้ยงใคร
. นั่นลูกเลี้ยงของใคร
. นั่นลูกเลี้ยงใครไว้

คำว่าลูกเลี้ยงในข้อ ก.เป็นได้ทั้งคำประสมและไม่ใช่คำประสม ถ้ามีข้อความอื่น
หรือเหตุการณ์มาชี้ให้เห็นว่า ผู้พูดประโยคนี้กำลังหมายถึงใครคนหนึ่งคำว่าลูกเลี้ยงก็จะเป็นคำประสม แต่ถ้าผู้พูดกำลังถามลูกของตัวเองว่าเลี้ยงใครอยู่ คำว่าลูกเลี้ยงก็ไม่เป็นคำประสม ส่วนคำว่าลูกเลี้ยงในข้อ ข. ข้อความใกล้เคียงบ่งชี้ว่าเป็นคำประสมอย่างไม่มีปัญหา ส่วนข้อ ค. คำว่าลูกเลี้ยงไม่ได้เป็นคำประสม คำว่าลูกเป็นนามและคำว่าเลี้ยงเป็นกริยาของประโยค
หรือ ประโยคว่าลูกน้องของเธอมาแล้วคำว่าลูกน้อง ก็อาจจะเป็นได้ทั้งคำประสมและไม่ใช้คำประสมเราจะตัดสินได้ก็ต่อเมื่อมีข้อความอื่นมาขยายหรือเราอยู่ในเหตุการณ์ที่กำลังพูดประโยคนี้อยู่ด้วยหรือสังเกตการเน้นคำก็ได้ เพราะคำว่า ลูกน้อง อาจมีความหมายว่า ลูก ( ของ ) น้อง ( ไม่เป็นคำประสม ) หรือ ผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ ( ของเธอ ) ( เป็นคำประสม ) เป็นต้น

ประโยชน์ของคำประสม

. ทำให้มีคำใช้ในภาษามากขึ้น โดยใช้คำที่มีอยู่แล้ว เอามารวมกันทำให้เกิดคำใหม่ ได้ความหมายใหม่
. ช่วยย่อความยาว ๆ ให้สั้นเข้า เป็นความสะดวกทั้งในการพูด และการเขียน เช่น
นักร้อง = ผู้ที่ชำนาญในการร้องเพลง
ชาวนา = ผู้ที่มีชีวิตอยู่ในผืนนา
หมอนวด = ผู้ที่ชำนาญในการนวด
. ช่วยให้การใช้คำไทยที่มาจากภาษาต่างประเทศ ประสมกลมกลืนกับคำไทยแท้ได้สนิท เช่น
พลเมือง = พล ( บาลี ) + เมือง ( ไทย )
เสื้อเชิ้ต = เสื้อ ( ไทย ) + เชิ้ต ( อังกฤษ - shirt )

รถเก๋ง = รถ ( บาลี ) + เก๋ง ( จีน )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น