วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย

1. ลิลิต คือ ลักษณะการแต่งคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง  คือ  ร่ายสุภาพ กับ โคลง
2. ตะเลง หมายถึง มอญ 
3. พ่าย หมายถึง แพ้  
4. ตะเลงพ่ายจึงหมายถึง มอญแพ้ หรือพม่าแพ้
          ทั้งนี้ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  มอญ ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า  และพม่าได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหงสาวดีเพื่อควบคุมดูแลพวกมอญได้อย่างสะดวก  สงครามระหว่างไทยกับพม่า  ส่วนใหญ่ไพร่พลฝั่งพม่าจะเป็นมอญ เพราะเหตุนี้ คำว่าตะเลงพ่าย จึงหมายถึง พม่าแพ้นั่นเอง
5.                 อุรารานร้าวแยก ยลสยบ
          เอนพระองค์ลงทบ                 ท่าวดิ้น
          เหนือคอคชซอนซบ                สังเวช
          วายชีวาตม์สุดสิ้น                  สู่ฟ้าเสวยสวรรค์
6. โคลงสี่สุภาพข้างต้นนี้เป็นบทพรรณนาอะไร (พรรณนาการสิ้นพระชนม์บนคอช้างของพระมหาอุปราชาแห่งพม่า หลังจากทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
7. การทำยุทธหัตถีดังกล่าว เกิดขึ้นที่ได (ตำบลตระพังตรุ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ.2135)
8. คำว่า ยุทธหัตถี แปลว่า (การรบกันบนหลังช้าง)
9. ลิลิตตะเลงพ่ายจัดเป็นวรรณคดีประเภทใด (วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ และวรรณคดีประวัติศาสตร์)
10.                สองโจมสองจู่จ้วง        บำรู
          สองขัตติยสองขอชู                เชิดด้ำ
          กระลึงกระลอกดู                   ไวว่อง นักนา
          ควาญขับคชแข่งค้ำ                เช่นเขี้ยวในสนาม
โคลงสี่สุภาพข้างต้นถอดความเป็นร้อยแก้วได้อย่างไร (กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ ทรงต่อสู้กันอย่างเต็มกำลังความสามารถ  กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ต่างถือของ้าว  ฟาดฟันกันไปมา)
11. คำว่า โจม จู่ จ้วง มีความหมายไปในทางใด (การกระทำด้วยกำลังแรง)
12. คำว่ากระลึงกระลอก ตามโคลงข้างต้น หมายความว่าอย่างไร (ขยับพระแสงของ้าวกลับไปกลับมา)
13. ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นผลงานของใคร (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
14. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสในกษัตริย์พระองค์ใด (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
15. ผู้ใด ช่วยแต่งลิลิตตะเลงพ่าย (พระองค์เจ้ากปิตถาขัตติยกุมาร)
16. การแต่งลิลิตตะเลงพ่ายเป็นพระประสงค์ของใคร (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)
17. จุดประสงค์ในการแต่งลิลิตตะเลงพ่ายคือ (เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
18. ลิลิตตะเลงพ่าย มีทั้งหมดกี่บท (439 บท)
19. เหตุการณ์การทำสงครามยุทธหัตถีมีบันทึกไว้ที่ไหน (พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) )
20. ทำไมพระเจ้านันทบุเรงจึงมีรับสั่งให้พระมหาอุปราชายกทับมาตีกรุงศรีอยุธยา (เพราะทราบข่าวว่าพระธรรมราชาเสด็จสวรรคต คาดว่าจะมีเหตุการณ์วุ่นวายแย่งชิงราชบัลลังก์กัน จึงน่าจะเป็นโอกาสดี)
21. พระมหาอุปราชาเดินทัพเข้าไทยทางใด (ทางด่านเจดีย์สามองค์ ปัจจุบันอยู่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี)
22. บิดาของพระมหาอุปราชาคือใคร (พระเจ้านันทบุเรง หรือพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง)
23. วรรณคดีเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายมีคุณค่าด้านใด (มีคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์และสังคม)
24. ในด้านวรรณศิลป์ ลิลิตตะเลงพ่าย มีความดีเด่นในด้านใด (เนื้อหา สำนวนโวหาร กลวิธีการแต่ง)
25. พระอนุชาของพระนเรศวรชื่ออะไร (พระเอกาทศรถ)
26. พระองค์ดำคือใคร (พระนเรศวร)
27. พระองค์ขาวคือใคร (พระเอกาทศรถ)
28. ชื่อเดิมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส คืออะไร (พระองค์เจ้าวาสุกรี)
29.               สลัดไดใดสลัดน้อง       แหนงนอน ไพรฤๅ
          เพราะเพื่อมาราญรอน             เศิกไสร้
          สละสละสมร                       เสมอชื่อ ไม้นา
          นึกระกำนามไม้                     แม่นแม้นทรวงเรียม
คำประพันข้างต้นกล่าวถึงชื่อพรรณไม้กี่ชนิด (2 ชนิด 1. สลัดได  2. ต้นสละ)
30.               สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง              ยามสาย
          สาย บ่ หยุดเสน่ห์หาย                       ห่างเศร้า        
          กี่คืนกี่วันวาย                                 วางเทวษ ราแม่
          ถวิลทุกขวบค่ำเช้า                           หยุดได้ฉันใด
คำประพันข้างต้นผู้ใดเป็นคนกล่าว กล่าวถึงใคร (พระมหาอุปราชากล่าวถึงนางสนม)
31.                เกิดเป็นหมอกมืดห้อง              เวหา หนเฮย
          ลมชื่อเวรัมภา                                พัดคลุ้ม
          หวนหอบหักฉัตรา                           คชขาด ลงแฮ
          แลธุลีกลัดกลุ้ม                              เกลื่อนเพี้ยงจักรผัน
คำประพันข้างต้นเป็นลางบอกเหตุของใคร และลางบอกเหตุคืออะไร (ลางบอกเหตุของพระมหาอุปราชาลางคือเกิดลมชื่อเวรัมภา)
32. สมเด็จพระเอกาทศรถรบชนะใคร (มางจาชโร)       


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น