วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ภาษาถิ่น

          
          ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ  ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย  ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ   ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน  และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ  ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำ
และสำเนียง  ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์  ลักษณะความเป็นอยู่  และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย  บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น   และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย  และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก   เช่นภาษาถิ่นใต้  ก็มีภาษาสงฃลา  ภาษานคร  ภาษาตากใบ  ภาษาสุราษฎร์  เป็นต้น   ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป  ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด  หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4  ถิ่นใหญ่ ๆ  คือ ภาษาถิ่นกลาง  ภาษาถิ่นเหนือ  ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นกลาง
          ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี  นครปฐม  อ่างทอง   และพระนครศรีอยุธยา  เป็นต้น  ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้  มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป  จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน

ภาษาถิ่นเหนือ
          หรือภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง)  ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม  มักจะพูดกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน ตาก แพร่  เป็นต้น

 ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นเหนือ
คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กิ๋น
กิน
กาด
ตลาด
กาดมั่ว
ตลาดเช้า
กาดแลง
ตลาดเย็น
กะเลิบ
กระเป๋า
เกือก
รองเท้า
เกี้ยด
เครียด
ขนาด
มาก
ขี้จุ๊
โกหก
ขี้ลัก
ขี้ขโมย
เข
บังคับ
ขัว
สะพาน
คุ้ม
วัง
เคียด
โกรธ
ง่าว
โง่
จั๊ดนัก
มาก
จ้อง, กางจ้อง
ร่ม, กางร่ม
เชียง
เมือง
ตุง
ธง
ตุ๊เจ้า
พระ
เต้า
เท่า
เตี่ยว, ผ้าเตี่ยว
กางเกง
บะเขือส้ม
มะเขือเทศ
บะกล้วยแต้ด
มะละกอ
ป้อ
พ่อ
ปิ๊ก
กลับ
ไผ
ใคร
ผ้าหัว
ผ้าขาวม้า
ม่วน
สนุก
เมื่อย
เป็นไข้, ไม่สบาย
เยียะ
ทำ
ละอ่อน
เด็ก
ลำ
อร่อย
สึ่งตึง
ซื่อบื้อ
หัน
เห็น
หื้อ
ให้
อุ๊ย
คนแก่
แอ่ว
เที่ยว
ฮัก
รัก
ฮู้
รู้

ภาษาถิ่นอีสาน
          ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา  ได้แก่  ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน  ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด  เลย  ชัยภูมิ  มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น

ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นอีสาน
คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กะปอม
กิ้งก่า
กะต้า
ตะกร้า
เกิบ
รองเท้า
ข่อย
ฉัน, ผม
ข้อง
ติด, คา
คึดฮอด
คิดถึง
จังซั่น
อย่างนั้น
จังซี่
อย่างนี้
จังได๋
อย่างไร
จั๊ก
รู้
จ้อย
ผอม
จือ, จือจำ
จำ, จดจำ
แซบอีหลี
อร่อยจริง ๆ
เซา
หยุด
ซวด ๆ
ปรบมือ
โดน
นาน
ด๊ะดาด
มากมาย
ตั๊วะ
โกหก
ท่ง
ทุ่ง
ทางเทิง
ข้างบน
เบิ่ง
ดู
บักเสี่ยว
เพื่อนเกลอ
บักหุ่ง
มะละกอ
บักสีดา
ฝรั่ง
ผู้ใด๋
ใคร
ฟ้าฮ่วน
ฟ้าร้อง
ม่วน, ม่วนหลาย
สนุก, สนุกมาก
แม่น
ใช่
ย่าง
เดิน
ยามแลง
เวลาค่ำ
แลนหนี
วิ่งหนี
เว้าซื่อ ๆ
พูดตรงไปตรงมา
หนหวย
หงุดหงิด
อ้าย
พี่
เฮ็ด, เฮ็ดเวียด
ทำ, ทำงาน
ฮอด, เถิง, คิดฮอด
ถึง, คิดถึง

ภาษาถิ่นใต้
          ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม  14  จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช  เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ภาษาถิ่นใต้   ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก  เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา  ปัตตานี  ตรัง  สตูล   ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่  พังงา  ระนอง  สุราษฎร์ธานีและชุมพร  และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ  ปัตตานี    ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น  ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป  

ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นใต้
คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กุบกั่บ
รีบร้อน
กางหลาง
เกะกะ
แกล้ง
ตั้งใจทำ
โกปี้
กาแฟ
ข้องใจ
คิดถึง, เป็นห่วง
ขี้หมิ้น
ขมิ้น
ขี้ชิด
ขี้เหนียว
แขบ
รีบ
ขี้หก, ขี้เท็จ
โกหก
แขว็ก
แคะ
เคร่า
คอย, รอคอย
เคย
กะปิ
ไคร้
ตะไคร้
ครกเบือ
ครก
คง
ข้าวโพด
งูบองหลา
งูจงอาง
ฉ่าหิ้ว
ตะกร้า
ชันชี
สัญญา
เชียก
เชือก
ตอเบา
ผักกระถิน
แตงจีน
แตงโม
โตน
น้ำตก
ตาล่อ, หาจก, ตาอยาก
โลภมาก,อยากได้
ต่อเช้า
พรุ่งนี้
แต่วา
เมื่อวาน
น้ำเต้า
ฟักทอง
น้ำชุบ
น้ำพริก
เนียน
ละเอียด, ไม่หยาบ
เนือย
หิว, อ่อนแรง
ดีปลี,ลูกเผ็ด
พริก
เปรว
ป่าช้า
ผักแหวน
ใบบัวบก
พุงปลา
ไตปลา
พาโหม
กะพังโหม
ยิก
ไล่
ลอกอ
มะละกอ
ลกลัก
เร่งรีบ,ลนลาน
ลาต้า
อาการบ้าจี้
แลกเดียว
เมื่อตะกี้
ลูกปาด
ลูกเขียด
สากเบือ
สาก
ส้มนาว
มะนาว
หวันมุ้งมิ้ง
โพล้เพล้
หยบ
ซ่อน,แอบ
หล่าว
อีกแล้ว
หลบบ้าน
กลับบ้าน
หัว
หัวเราะ
หวังเหวิด
กังวล,เป็นห่วง
หย่านัด
สับปะรด
หย้ามู้, ยาหมู่,ชมโพ่
ฝรั่ง
หรอย
อร่อย
อยาก
หิว

ภาษาถิ่นตะวันออก
          วิเศษ  ชาญประโคน (2550, หน้า 40-41) ได้กล่าวถึง ภาษาถิ่นตะวันออกว่าเป็นภาษาย่อย ที่ใช้พูดจากัน ในท้องถิ่นตะวันออกมี ระยอง จันทบุรี ตราด เป็นต้น

คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กะแต่ง
ผักที่มีลักษณะคล้ายบุกแต่เล็กกว่า
เกียน
เกวียน
คุน,แมะ
ยาย
ตะโงน
ตะโกน
พอแรง
มาก
โพง
กระป๋องตักน้ำ
นักนั่ก
มากมาย,เยอะแยะ
ธุ
ไหว้
สงาด
เยอะ, มากมาย
สนุกซ้ะ
สนุกมาก
สะหม่า
ประหม่า
สารพี
ทัพพี
สีละมัน
ลิ้นจี่ป่า
หวด
กิน
หาบ
แบก
ลุ้ย, หลัว
เข่ง
อีโป้
ผ้าขาวม้า
อีแหวก
แมงกะชอน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น