เห่เรือ.......
พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน สาครลั่นครั่นครื้นฟอง ...
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน สาครลั่นครั่นครื้นฟอง ...
เมื่อจินตนาการตามกาพย์เห่เรือที่เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ทรงประพันธ์ขึ้นเมื่อกว่า
300 ปีก่อน และเมื่อได้อ่านบันทึกของ นิโคลาส แชแวร์
ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเขียนไว้ในหนังสือชื่อ
ประวัติศาสตร์แห่งราชอาณาจักรสยามในช่วงนั้น ก็ได้กล่าวถึงถึงกระบวนเรือไว้ว่า
"ไม่สามารถเทียบความงามกับขบวนเรืออื่นใดได้ เป็นขบวนเรือที่มโหฬาร มีเรือกว่า 200 ลำ โดยมีเรือพระที่นั่งพายเป็นคู่ๆไปข้างหน้า เรือพระที่นั่งนั้น ใช้ฝีพายของพวกแขนแดงที่ได้รับการฝึกพายมาจนชำนาญ ทุกคนสวมหมวก เสื้อ ปลอกเข่า ปลอกแขน มีทองคำประกอบ เวลาพายพร้อมกับเป็นจังหวะจะโคน พายนั้นก็เป็นทอง เสียงพายกระทบเป็นเสียงประสานไปกับทำนองเพลงยอพระเกียรติของพระเจ้าแผ่นดิน"
"ไม่สามารถเทียบความงามกับขบวนเรืออื่นใดได้ เป็นขบวนเรือที่มโหฬาร มีเรือกว่า 200 ลำ โดยมีเรือพระที่นั่งพายเป็นคู่ๆไปข้างหน้า เรือพระที่นั่งนั้น ใช้ฝีพายของพวกแขนแดงที่ได้รับการฝึกพายมาจนชำนาญ ทุกคนสวมหมวก เสื้อ ปลอกเข่า ปลอกแขน มีทองคำประกอบ เวลาพายพร้อมกับเป็นจังหวะจะโคน พายนั้นก็เป็นทอง เสียงพายกระทบเป็นเสียงประสานไปกับทำนองเพลงยอพระเกียรติของพระเจ้าแผ่นดิน"
เรือพระที่นั่งและเรือในกระบวนเรือนั้น ทางกรมศิลปากรและกองทัพเรือรับหน้าที่ดูแลเก็บรักษาเอาไว้ และเมื่อถึงวาระสำคัญ เช่น การเสด็จทอดผ้าพระกฐินด้วยกระบวนพระยุหยาตราทางชลมารค กำลังพลของกองทัพเรือจะรับหน้าที่เป็นฝีพายและนำเรือพระที่นั่งและเรืออื่น ๆ ประกอบเข้าเป็นกระบวนพระยุหยาตราทางชลมารค เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา เรือพระที่นั่งที่สะท้อนแสงแดดสีทอง กาพย์เห่เรือที่ไพเราะ ฝีพายที่ยกพายตามจังหวะ เรือตำรวจ เรือดั้ง เรือแซง ซึ่งเป็นเรือรบในอดีต ประกอบเป็นกระบวนเรืออันยิ่งใหญ่ เป็นภาพที่งดงาม แสดงถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานและความผูกพันที่แม่น้ำเจ้าพระยาเสมือนตัวกลางเชื่อมระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และพสกนิกรชาวไทยเข้าไว้ด้วยกันมาหลายร้อยปี
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555
ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จฯแทนพระองค์ด้วยกระบวนพระยุหยาตราทางชลมารค
ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
ถือเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่กำลังพลของกองทัพเรือและผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้ถวายความจงรักภักดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และเป็นโอกาสอันดีที่ประชาชนชาวไทยจะได้ชื่นชมพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผ่านความงดงามของกระบวนพระยุหยาตราทางชลมารคนี้
กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ
โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา เรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ
ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวงลิตพรรณนากระบวนเรือ
ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยา
ประเภทของการเห่เรือ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ
การเห่เรือหลวง (การเห่เรือในงานพระราชพิธี) และ การเห่เรือเล่น
(การเห่เรือเล่นของชาวบ้านในงานต่างๆ) ในปัจจุบันการเห่เรือ ยังคงอยู่เฉพาะ
การเห่เรือหลวง ที่ใช้ใน กระบวนพยุหยาตราชลมารค การเสด็จทางน้ำที่เรียกว่า
กระบวนพยุหยาตราชลมารค นั้นมีหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ปรากฏไว้ว่า
พระร่วงเจ้า
(พระมหาธรรมราชา1) ทรงใช้เรือออกลอยกระทง หรือพิธีจองเปรียง ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามคืนเพ็ญเดือนสิบสอง
ในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามพงศาวดารได้บันทึกไว้ว่า
สมเด็จพระนเรศวรเมื่อคราวเสด็จไปตีเมืองเมาะตะมะ
เสด็จพระราชดำเนินจากกรุงศรีอยุธยาโดยชลมารค พอได้เวลาฤกษ์
พระโหราราชครูอธิบดีศรีทิชาจารย์ ก็ลั่นกลองฆ้องชัยให้พายเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์
อันเป็นเรือทรงพระพุทธปฏิมากรทองนพคุณ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุถวายพระนามสมญา “พระพิชัย” นำกระบวนออกไปก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล
ครั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งตัวเกาะกรุงนั้นเป็นเกาะที่ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลอง
ชีวิตผูกพันกับสายน้ำ จึงปรากฏการสร้างเรือรบมากมายในกรุงศรีอยุธยา
ยามบ้านเมืองสุขสงบ ชาวกรุงศรีอยุธยาก็หันมาเล่นเพลงเรือ
แข่งเรือเป็นเรื่องเอิกเกริก โดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม
เมื่อจะเสด็จฯแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ หรือเสด็จฯไปทอดผ้ากฐินยังวัดวาอาราม
ก็มักจะใช้เรือรบโบราณเหล่านั้นจัดเป็นกระบวนเรือยิ่งใหญ่ ดังนั้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีกระบวนเรือเพชรพวง
ซึ่งเป็นเรือริ้วกระบวนที่ใหญ่มาก จัดออกเป็น 4 สาย
แล้วเรือพระที่นั่งตรงกลางอีก 1 สาย
ใช้เรือทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 100 ลำ ระหว่างการเคลื่อนกระบวนก็มีการเห่เรือพร้อมเครื่องประโคม
จนเกิดวรรณกรรมร้อยกรองที่ไพเราะยิ่ง คือ กาพย์เห่เรือ ของ
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งบรรยายถึงความงดงาม
และลักษณะของเรือในกระบวนครั้งนั้น
และบทเห่เรือนี้ยังเป็นแม่แบบของกาพย์เห่เรือที่ใช้กันในปัจจุบัน
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ด้วยเหตุที่สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง
มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆมากมาย ทั้งทรงสร้างเมืองลพบุรีขึ้น
จึงมีการเสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค และในบางโอกาสก็โปรดเกล้าฯ
ให้จัดกระบวนเรือหลวงออกรับคณะราชทูตและแห่พระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส จากกรุงศรีอยุธยา มายังเมืองลพบุรี
ในช่วงปี พ.ศ. 2199-2231 ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ
มีการจัดกระบวนพยุหยาตราฯที่เรียกว่า “ขบวนเพชรพวง” เป็นริ้วกระบวนยิ่งใหญ่ 4 สาย
พร้อมริ้วเรือพระที่นั่ง ตรงกลางอีก 1 สาย
มีเรือทั้งสิ้นไม่ตำกว่า 100 ลำ
ซึ่งนับเป็นกระบวนพยุหยาตราฯที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และนับเป็นต้นแบบสำคัญของกระบวนพยุหยาตราฯ
ในสมัยต่อๆ
มาการจัดการกระบวนพยุหยาตรลมารคในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่กล่าวมานี้
จัดได้ว่าเป็นริ้วกระบวนใหญ่แสดงความมั่งคั่งโอ่อ่า
ของราชสำนักไทยในครั้งนั้นได้เป็นอย่างดี
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับริ้วกระบวนเรือในสมัยต่อมา จะพบว่าค่อยๆ ตัดทอนลงไปเรื่อยๆ
เพราะเรือชำรุดไปตามกาลเวลาบ้าง
ไม่มีผู้รู้จักทำขึ้นใหม่ให้ถูกต้องตามแผนโบราณบ้างจึงเหลืออยู่เท่าที่พอจะรักษาไว้ได้เท่านั้น
กระทั่งในปี พ.ศ. 2310 ถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่ากระบวนเรือราชพิธีสูญสลายกลายเป็นเถ้าถ่านด้วยฝีมือของข้าศึก
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขณะทรงประทับบนเรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์ทอดบัลลังก์บุษบก
เสด็จพระราชดำเนินทรงทอดพระกฐินทางชลมารค ( ภาพถ่ายลายเส้นหายากจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสในสมัยนั้น )
ในตอนเสียกรุงครั้งที่ 2 พม่าได้เผาทำลายเรือลงจนหมดสิ้น หลังจากนั้น เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชของไทยคืนมาได้
ก็ทรงสร้างเรือขึ้นใหม่ทั้งชุด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรือที่ใช้ในการรบพุ่งทั้งสิ้น
เพราะในสมัยนั้นมีแต่การศึกสงคราม โดยมีการแห่เรือสำคัญ คือ
ในการพระราชพิธีสมโภชรับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต
ซึ่งอันเชิญมาจากเวียงจันทน์และมาแห่พักไว้ที่กรุงเก่า
คือพระนครศรีอยุธยามีข้อความในหมายรับสั่งพรรณนากระบวนเรือที่แห่มาจากต้นทางว่า
รวมเรือแห่ทั้งปวง 115 ลำ และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปสมทบที่พระตำหนักบางธรณีกรุงเก่า
ความว่ามีเรือแห่มารวมกันเป็นจำนวน 246 ลำ
ครั้นมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่อีก 67 ลำ
ซึ่งมีทั้งเรือพระที่นั่ง เรือกระบวนปิดทอง เรือพิฆาต และเรือแซง
ซึ่งเป็นเรือที่สำคัญๆ เป็นที่รู้จักมาจนเท่าทุกวันนี้
ในรัชกาลต่อๆมาก็ยังมีการสร้างเรือเพิ่มขึ้นมาอีก
รัชกาลที่ 2
2 ลำ รัชกาลที่ 3
24 ลำ
รัชกาลที่ 4
7 ลำ รัชกาลที่ 5 1 ลำ
รัชกาลที่ 6
2 ลำ
จากนั้นก็มิได้มีการสร้างเรืออีกจนถึงรัชกาลที่ 9 จึงได้มีการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ
รัชกาลที่ 9เนื่องในโอกาสกาญจนาภิเษก เรือที่สำคัญๆ
และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ก็ได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 4 และมาสร้างขึ้นแทนลำเดิมอีกในรัชกาลที่ 6 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 และ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 6 ในช่วงสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา อู่เรือพระที่นั่งที่ปากคลองบางกอกน้อยถูกลูกระเบิดถล่มจนเรือเสียหายไปหลายลำ
จากนั้นมาจึงมีการซ่อมแซมเรือ และโอนเรือพระราชพิธี 36 ลำ ให้กรมศิลปากรดูแลเก็บรักษาไว้ที่อู่เรือพระราชพิธีปากคลองบางกอกน้อย และส่วนที่เหลืออีกราว 32 ลำ
เป็นพวกเรือตำรวจ เรือดั้ง เรือแซง กองทัพเรือเก็บรักษาไว้
สำหรับกระบวนพยุหยาตราที่มีในรัชกาลปัจจุบันนั้น
ส่วนมากจะเป็นการเสด็จไปทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และ พิธีสำคัญๆ
อย่างเช่น การฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี กาญจนาภิเษก และพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (สำหรับงาน เอเปค และ งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60ปี นั้น เป็นเพียงการสาธิตแห่กระบวนเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จในกระบวน)
ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน
โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามใน พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ภาพขบวนเรือพระราชพิธี ในงานประชุมเอเปค 2003
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯแทนพระองค์
ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (ภาพเมื่อ พ.ศ. 2550)
สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคมาแล้วจำนวน 17 ครั้งแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น