คำซ้อน
คำซ้อน
(บางทีเรียก คำคู่) คือ คำที่มีคำเดี่ยว 2 คำ
อันมีความหมายหรือเสียงคล้ายกันใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทำนองเดียวกัน
ซ้อนเข้าคู่กัน เมื่อซ้อนแล้วจะมีความหมายใหม่เกิดขึ้น หรือ
มีความหมายและที่ใช้ต่างออกไปบ้าง
คำซ้อนแบ่งออกเป็น 2
ประเภท คือ
1.
คำซ้อนเพื่อความหมาย 2.
คำซ้อนเพื่อเสียง
เจตนาในการซ้อนคำก็เพื่อให้ได้คำใหม่
มีความหมายใหม่ ถ้าซ้อนเพื่อความหมาย
ก็มุ่งที่ความหมายเป็นสำคัญ
ถ้าซ้อนเพื่อเสียง ก็มุ่งที่เสียงเป็นสำคัญ
1.
คำซ้อนเพื่อความหมาย
วิธีสร้างคำซ้อนเพื่อความหมาย
1.1 นำคำเดี่ยวที่มีความหมายสมบูรณ์
มีที่ใช้ในภาษามาซ้อนเข้าคู่กันคำหนึ่งเป็นคำต้น อีกคำหนึ่งเป็นคำท้าย
คำต้นกับคำท้ายมีความหมายคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน
หรือไปในทำนองเดียวกัน อาจเป็น คำไทยด้วยกันหรือคำต่างประเทศด้วยกันหรือเป็นคำไทยกับคำต่างประเทศซ้อนกันเข้ากันก็ได้
1.2 ซ้อนกันแล้วต้องเกิดความหมายใหม่
ซึ่งอาจไม่เปลี่ยนไปจากความหมายเดิมมากนัก หรืออาจเปลี่ยนไปเป็นอันมาก
แต่ถึงจะเปลี่ยนความหมายหรือไม่เปลี่ยนอย่างไรก็ตาม ความหมายใหม่ย่อมเกี่ยวเนื่องกับความหมายเดิม
พอเห็นเค้าความหมายได้
ลักษณะคำซ้อนเพื่อความหมายที่เป็นคำไทยซ้อนกับคำภาษาอื่น
ส่วนมากเป็นคำภาษาบาลีสันสกฤตและเขมร
เพื่อประโยชน์ในการแปลความหมายด้วย
ในการสร้างคำใหม่ดังกล่าวแล้ว
คำที่มาซ้อนกันจึงต้องมีความหมายคล้ายกัน เมื่อซ้อนแล้วความหมายมักไม่เปลี่ยนไป
คำซ้อนลักษณะนี้มีดังนี้
คำไทยกับคำบาลีสันสกฤต ได้แก่ ซากศพ (ศพ จาก ศว สันสกฤต)
รูปร่าง โศกเศร้า
ยวดยาน
ทรัพย์สิน (ทรัพย์ จาก ทฺรวฺย สันสกฤต) ถิ่นฐาน จิตใจ ทุกข์ยาก
คำไทยกับคำเขมร ได้แก่ แสวงหา เงียบสงัด เงียบสงบ
ถนนหนทาง สะอาดหมดจด
ยกเลิก
เด็ดขาด
คำภาษาอื่นซ้อนกันเอง
คำบาลีกับสันสกฤตซ้อนกันเอง
ได้แก่
อิทธิฤทธิ์ (อิทฺธิ บ. + ฤทฺธิ ส.)
รูปพรรณ (รูป บ.ส. + พรรณ จาก วรฺณ ส.)
รูปภาพ (รูป + ภาพ บ.ส.)
ยานพาหนะ (ยาน + วาหน บ.ส.)
ทรัพย์สมบัติ (ทฺรวฺย ส. + สมฺปตฺติ
บ.ส.)
คำเขมรกับบาลีสันสกฤต
ได้แก่ สุขสงบ
สรงสนาน เสบียงอาหาร
คำเขมรกับเขมร ได้แก่ สะอาดสอาง สนุกสบาย เลิศเลอ สงบเสงี่ยม
2.
คำซ้อนเพื่อเสียง
ด้วยเหตุที่คำซ้อนเพื่อเสียง
มุ่งที่เสียงยิ่งหว่าความหมาย คำที่เข้ามาซ้อนกันจึงอาจจะไม่มีความหมายเลย เช่น โล
กับ เล หรือมีความหมายเพียงคำใดคำเดียว เช่น มอมกับแมม มอม มีความหมาย
แต่
แมม ไม่มีความหมาย บางทีแต่ละคำมีความหมาย แต่ความหมายไม่เนื่องกับความหมายใหม่เลย
เช่น งอแง งอ หมายว่า คด โค้ง แต่ แง หมายถึงเสียงร้องของเด็ก ส่วนงอแง หมายว่า
ไม่สู้ เอาใจยาก วิธีการสร้างคำซ้อนเพื่อเสียง
จึงต่างกับคำซ้อนเพื่อความหมายดังนี้
วิธีสร้างคำซ้อนเพื่อเสียง
1. นำคำที่เสียงมีที่เกิดระดับเดียวกัน
หรือใกล้เคียงกันซ้อนกันเข้า
2. ซ้อนกันแล้ว จะเกิดความหมายใหม่
ซึ่งโดยมากไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายของคำเดี่ยวแต่ละคำ
ประโยชน์ของคำซ้อนเพื่อเสียง
1. ทำให้ได้คำใหม่ที่สร้างได้ง่ายกว่าคำซ้อนเพื่อความหมาย
2. ได้คำที่มีเสียงกระทบกระทั่งกัน
เหมาะที่จะใช้ในการพรรณาลักษณะให้ได้ใกล้เคียงความจริง
ทำให้เห็นจริงเห็นจังยิ่งขึ้น
3. ได้คำที่มีทั้งเสียงและความหมายใหม่
โดยอาศัยคำเดิมที่มีอยู่แล้ว
ข้อควรสังเกต
1. คำซ้อนในภาษาไทยส่วนใหญ่มีเสียงสัมผัสกัน
เช่น ซาบซึ้ง ปีนป่าย เฮฮา
2. คำที่มี 2 พยางค์
อาจซ้อนกันกลายเป็นคำซ้อน 4 พยางค์ เช่น เฉลี่ยวฉลาด
ตะเกียกตะกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น