วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การสร้างคำในภาษาไทย

การสร้างคำในภาษาไทย

การสร้างคำในภาษาไทย มีแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1. คำมูล
          1.1 คำมูลพยางค์เดียว หมายถึง คำที่มีพยางค์เดียวโดดๆ จะมาจากภาษาใดก็ได้ เช่น หมู หมา กา ไก่
          1.2 คำมูลหลายพยางค์ หมายถึง คำที่มากกว่า 1 พยางค์ ซึ่งเกิดจากคำที่ความหมายไม่เกี่ยวเนื่องกัน หรือ เกิดจากพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น กระดาษ ศิลปะ กำมะลอ

2. คำซ้อน
          2.1 คำซ้อนเพื่อความหมาย คือ คำซ้อนที่เกิดจากคำมูล 2 คำ ขึ้นไปที่มีความหมายสัมพันธ์กันในรูปแบบต่อไปนี้
          - ความหมายเหมือนกัน เช่น บ้านเรือน  ถ้วยชาม  ใหญ่โต  ดูแล  ป่าดง
          - ความหมายคล้ายกัน เช่น ฝนฟ้า  ไร่นา  ใจคอ  แข้งขา  ศีลธรรม
          - ความหมายตรงข้ามกัน เช่น สูงต่ำ  มากน้อย  เร็วช้า  ชั่วดี  ผิดถูก
          2.2 คำซ้อนเพื่อเสียง คือ คำซ้อนที่เกิดจาก 2 พยางค์ ที่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสียงเหมือนกัน เช่น เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงท้าย  เช่น หมูหมากาไก่

3. คำประสม คือ คำที่เกิดจากการนำคำ 2 คำ ขึ้นไปที่มีความหมายไม่เกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อนำมารวมกันแล้ว ได้ความหมายใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับคำตั้งต้น เช่น ตู้เย็น พัดลม
          การนำคำมูลที่มีความหมายกว้างๆ มาประสมกับคำมูลอื่น ทำให้เกิดความหมายเฉพาะขึ้น เช่น
                   - ชาว      เช่น  ชาวนา  ชาวบ้าน  ชาวไร่
                   - นัก       เช่น  นักเรียน  นักดนตรี  นักแสดง
                   - เครื่อง    เช่น  เครื่องใช้ไฟฟ้า  เครื่องคิดเลข  เครื่องมือ
                   - ช่าง      เช่น  ช่างไฟ  ช่างเครื่อง  

4. คำซ้ำ คือ คำที่ซ้ำกัน สังเกตได้จากไม้ยมก ๆ
           ลักษณะของคำซ้ำ
           4.1  บอกความหมายเป็นพหูพจน์  เช่น หนุ่มๆ 
           4..2  บอกความหมายเป็นเอกพจน์  เช่น ล้างชามให้สะอาดเป็นใบๆ
           4.3  เน้นความหมายของคำเดิม  เช่น อ่านให้ดังๆ
         
คำสมาส
คำสมาสจะต้องประกอบด้วยกฎเหล็ก 3 ประการ คือ
          1. เป็นภาษาบาลี-สันสกฤต เท่านั้น
          2. อ่านเชื่อมเสียงกลางคำ
          3. แปลความหมายจากข้างหลังมาข้างหน้า
คำสมาสแบบธรรมดา เอาคำมาชนกันเฉยๆ
          หลักการ คือ      1. ล้าง    และ    ของคำหน้าทิ้ง
                             2. ออกเสียง "อะ" ตรงกลางคำ
          เช่น     ศิลปะ + ศาสตร์ = ศิลปศาสตร์
                   วีระ + บุรุษ = วีรบุรุษ

คำสมาสแบบสนธิ  เอาคำมาเชื่อมกัน
          หลักการ คือ
          1. สระสนธิ เอาสระกับสระมาเจอกัน
                             อะอา + อะอา = อา      เช่น สุข + อภิบาล = สุขาภิบาล
                             อะอา + อิอี = อิ อี เอ    เช่น นร + อิศวร = นเรศวร
                             อะอา + อุอู = อุ อู โอ    เช่น  นย +  อุบาย = นโยบาย
                             อะอา + เอไอโอเอา = เอไอโอเอา  เช่น  ราช  +  ไอศูรย์ =  ราโชศูรย์
                             อิอี + อิ = อิ               เช่น  โกสี +  อินทร์  = โกสินทร์
                             อุอู + อุอู = อุอู            เช่น  ครู  +  อุปกรณ์  =  ครุปกรณ์

         2. พยัญชนะสนธิ หลักการ คือ เปลี่ยน ส. เป็น โ  หรือ ลบ ส ทิ้ง  เช่น
                   ทุรสฺ + ชน = ทุรชน
                   มนสฺ + ภาพ = มโนภาพ

          3. นฤคหิตสนธิ คือ สํ + สระ, พยัญชนะ, เศษวรรค
                   สํ เจอ สระ ให้เปลี่ยนเป็น สม  เช่น 
                             สํ + อาคม = สมาคม
                             สํ + อาส = สมาส
                   สํ เจอ พยัญชนะวรรค ให้เปลี่ยนเป็นตัวสุดท้ายของวรรณนั้น
                             ก ข ค ฆ ง       สํ + คม = สังคม
                             จ ฉ ช ฌ ญ      สํ + จร = สัญจร
                             ฏ ฐ ฑ ฒ ณ      สํ + ฐาน = สัญฐาน
                             ต ถ ท ธ น       สํ + ธาน = สันธาน
                             ป ผ พ ภ ม       สํ + ผัส = สัมผัส
                   สํ เจอ เศษวรรค ให้เปลี่ยนเป็น สัง เช่น
                             สํ + โยค = สังโยค
                             สํ + หรณ์ = สังหรณ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น