ภาษาพูด
– ภาษาเขียน
ภาษาพูด
– ภาษาเขียน
เป็นคำที่ใช้เรียกระดับภาษา มิได้มีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า ภาษาที่ใช้สำหรับพูด
และภาษาที่ใช้สำหรับเขียน ภาษาพูด หมายถึง
ภาษาระดับลำลองหรือภาษาที่ไม่เป็นทางการ ส่วนภาษาเขียน หมายถึง
ภาษาระดับแบบแผนหรือภาษาระดับทางการ
ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนสามารถใช้สื่อสารด้วยวิธีพูดหรือโดยใช้วิธีเขียนก็ได้กล่าวคือ เราอาจพูดเป็นภาษาเขียน
หรือเขียนเป็นภาษาพูดก็ได้
ระดับภาษา
หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำ
และการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้ตามโอกาส
กาลเทศะ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสาร
โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้
๑.
ภาษาระดับทางการ เป็นภาษาที่ใช้ในที่ประชุมที่มีแบบแผน เช่น การบรรยาย
การอภิปรายอย่างเป็นทางการหรือใช้ในการเขียนข้อความที่จะใช้ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นการ
เป็นงาน เช่น ตำราวิชาการ
หนังสือที่ใช้ติดต่อกันทางราชการหรือในวงการธุรกิจผู้รับสารและผู้ส่งสาร
มักเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือวงอาชีพเดียวกันติดต่อกันในด้านธุรกิจการงาน
เช่น บอกหรือ
รายงานให้ทราบ ให้ความรู้เพิ่มเติม
เสนอความคิดเห็น ฯลฯ ลักษณะของสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้
ความคิดที่สำคัญอันเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจให้ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน
ถ้อยคำที่ใช้ผล
ตามจุดประสงค์โดยประหยัดทั้งถ้อยคำและเวลาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ตัวอย่างเช่น
คำกล่าวในพิธีเปิดการอบรมลูกเสือ
"คณะผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และพี่น้องลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ทั้งหลาย
ข้าพเจ้ายินดี
ที่ได้ทราบว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้ที่มีความตั้งใจจริง
เสียสละเวลา และความสุขส่วนตัวมาร่วมอบรม
หลักสูตรวิชาพิเศษในครั้งนี้ วิชาพิเศษของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่มีให้เลือกศึกษามากมาย
ทุกวิชา
ถ้าได้เรียนรู้และผ่านการอบรมมาอย่างสมบูรณ์แล้ว
จะสามารถช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือ
ผู้อื่นให้รอดพ้นจากอันตรายต่างๆ ได้
ฉะนั้นจึงขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฝึกอบรม เพื่อประโยชน์
แก่ตนเองและผู้อื่น
สมดังปณิธานของการลูกเสือ ข้าพเจ้าขออำนวยพรให้ทุกท่านจงปฏิบัติ
ภารกิจให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ และประสบความสุขตลอดเวลาที่อยู่ค่ายทุกประการ"
๒.
ภาษาระดับกึ่งทางการ
เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารโดยมุ่งให้เกิดความเข้าใจกันด้วยความ
รวดเร็วลดความเป็นทางการลงบ้างเพื่อให้เกิดความใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
มักใช้
ในการประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม
การบรรยายในห้องเรียน การพูดทางวิทยุและโทรทัศน์ ข่าว และ
แนะนำบุคคล ฯลฯ
ลักษณะของสารมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ธุรกิจ การแสดงความคิดเห็น
เชิงวิชาการหรือการดำเนินชีวิต ฯลฯ
มักใช้ศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็น และอาจมีถ้อยคำที่แสดง
ความคุ้นเคยปนอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น
"มานะ : สวัสดีครับคุณสุดา ไม่ได้พบกันนานแล้ว
สบายดีหรือครับ
สุดา : สวัสดีค่ะ คุณมานะ ดีใจจริงๆ
ที่ได้พบคุณ ตอนนี้ทำงานอยู่ที่ไหนล่ะคะ
มานะ : ผมเพิ่งมารับงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ครับ
สุดา : อ้อ! คุณมานะคะ นี่คุณฤดี
น้องใหม่ในสำนักงานเราค่ะ
คุณฤดีคะ นี่คุณมานะ ท่านเคยเป็นอดีตหัวหน้างานแผนกบุคคลของเราค่ะ
ฤดี : สวัสดีค่ะ
มานะ : สวัสดีครับคุณฤดี ยินดีที่ได้รู้จักครับ
๓. ภาษาระดับปาก เป็นภาษาที่ใช้ในการพูด
มักใช้ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัวกับบุคคลที่
สนิทสนมคุ้นเคย
ไม่เคร่งครัดในระเบียบแบบแผนมากนัก แต่เป็นภาษาที่คนทั่วไปใช้สื่อสาร
กันในชีวิตประจำวัน ถ้อยคำที่ใช่อาจมีคำคะนอง คำไม่สุภาพ
หรือคำภาษาถิ่นปะปนอยู่ เช่น
ภาษาในหนังสือพิมพ์ ภาษาในนวนิยาย เรื่องสั้น
การเขียนจดหมายส่วนตัว เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
ภาษาปากในหนังสือพิมพ์
"งานสัมมนาการพัฒนาคุณภาพบุคลากรของฝ่ายตุลาการ เมื่อวันที่ ๒๗
มีนาคมที่ผ่านมา
เห็นจะเป็นเพราะไม่มีค่าลงทะเบียนหรือยังไง
ปรากฏว่าในห้องประชุมแอร์เสีย ขณะที่ผู้เข้าร่วม
ประชุมสวมสูท เหงื่อแตกพลั่กกันทุกคน...เฮ้อน่าเห็นใจนะ"
ตัวอย่างการใช้ภาษา
"ยังไง
มือถือก็ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับการดำรงชีวิต" จะเห็นได้ว่าประโยคดังกล่าว เป็น การพูดสนทนาทั่วไปหรือ
เป็นบทสนทนาที่ปรากฏในสื่อสารมวลชนต่างๆ ซึ่งจัดเป็นสำนวนพูดหรือภาษาพูด
หากแก้ไขให้เป็นภาษาเขียน ซึ่งเป็นการสื่อสารในระดับที่เป็นทางการ
หรือกึ่งทางการ และ
เคร่งครัดในการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
ควรเรียบเรียงเป็นภาษาเขียนว่า "ถึงอย่างไร โทรศัพท์เคลื่อนที่
ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับการดำรงชีวิต"
ภาษาพูดและภาษาเขียนแตกต่างกันอย่างไรมีข้อสังเกตดังนี้
๑. ภาษาเขียนใช้ถ้อยคำตามแบบแผนที่กำหนด เช่น
ภาษาเขียน ภาษาพูด
ส่งจดหมายทางไปรษณีย์ ส่งจดหมาย
สัปดาห์หน้า อาทิตย์หน้า
ตักบาตร ใส่บาตร
ฌาปนกิจศพ เผาศพ
มากมาย มาก
รับประทาน กิน
๒. ภาษาเขียนอาจตัดถ้อยคำสำนวนที่อธิบายขยายความออกได้ เช่น
"ช่วยกันดูแลบ้านเรือนให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่สกปรก
รกรุงรัง"
(ถ้าเป็นภาษาเขียนให้ตัดข้อความที่ขีดเส้นใต้ออก)
๓.
ภาษาเขียนจะไม่ใช้คำลงท้ายที่แสดงความรู้สึก เช่น ซิ นะ ละ เถอะ ฯลฯ
หรือคำแสดงการเรียกขาน หรือคำขานรับ
เช่น คะ ขา จ๋า ครับ ฯลฯ
๔.
คำบางคำในภาษาเขียน เช่น คำที่มีความหมายเป็นคำถาม และคำสรรพนามบางคำยังคง
สะกดตามที่เคยใช้กันมา
ไม่สะกดตามการออกเสียงในปัจจุบัน เช่น
ภาษาเขียน ภาษาพูด
หรือ รึ, เหรอ, เรอะ
อย่างนี้ ยังงี้, งี้
เท่าไร เท่าไหร่
เขา เค้า
อย่างไร ยังไง,
ไง
เมื่อไร เมื่อไหร่
ไหม มั๊ย,
มะ
ฉัน ชั้น
ผม พ้ม
ดิฉัน ดิชั้น,
ดั๊น, เดี๊ยน
อย่างนั้น ยังงั้น,
งั้น
สัก ซัก,
ซะ
หนึ่ง นึง
คำเหล่านี้เป็นคำที่ต้องอ่านหรืออกเสียงอย่างภาษาพูด
แต่ในกรณีการเขียนต้องเขียนตามรูปเขียนที่กำหนดไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๒
๕.
คำในภาษาเขียนจะไม่ใช้คำย่อ ตัดคำ เช่น
ภาษาเขียน ภาษาพูด
มหาวิทยาลัย มหาลัย. หมาลัย
รับประทาน กิน, หม่ำ, เจี๊ย, อ้ำ, สวาปาม, แดก
โทรศัพท์ โทรฯ
กิโลเมตร, กิโลกรัม กม., กก.
๖. มีการใช้ภาษาถิ่นในพูด เช่น คำว่า "กลับบ้าน"
ภาษาถิ่นเหนือใช้คำว่า "ปิ๊กบ้าน"
ภาษาถิ่นอีสานให้คำว่า "เมือบ้าน" ภาษาถิ่นใต้ใช้คำว่า "หลบเริน"
เป็นต้น
๗.
มีการใช้ประโยคที่ไม่สมบูรณ์ เช่น การละประธาน กริยา กรรม หรือคำบุพบทไว้ใน
ฐานที่เข้าใจ เช่น
สมศรี : (พี่)ซื้ออะไรมาบ้างคะ พี่ซื้อ(ของ)ได้ครบหรือยัง
ละสรรพนามและกรรม
โดยปกตินักเรียนใช้ภาษาในการสื่อสาร
มิใช่เพียงเพื่อให้รู้เรื่องกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
เท่านั้น แต่ยังต้องใช้ให้ได้ผลดีด้วย
นั่นก็คือต้องใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล
รวมทั้งคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา
และสื่อที่จะใช้ด้วย โดยเราใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนดระดับของภาษาที่จะใช้
จึงได้มีการแบ่งระดับของภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล โอกาส สถานที่และประชุมชน
ผมชอบนะครับเนื้อเรื่องสั้นๆอ่านเเล้วสนุกดี
ตอบลบขอบคุณครับ
ลบขอบคุณครับ
ตอบลบช่วยได้เยอะเลยค่ะ
ตอบลบขอบคุณครับ
ลบสนุกมากๆๆๆๆๆๆเลยคับๆๆๆๆ
ตอบลบขอบคุณครับ
ลบเข้าใจขึ้นมากเลยค่ะ
ตอบลบอยากเห็นการใช้คำเยอะๆค่ะ ว่างก็ลงใหม่ให้ดูด้วยน่ะค่ะ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบสวยพี่สวย
ตอบลบ