นิราศภูเขาทอง
ผู้แต่ง พระยาศรีสุนทรโวหาร (สุนทรภู่)
ลักษณะคำประพันธ์
นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนแปด มีความยาว ๙๘ คำกลอน ลักษณะเฉพาะของกลอนนิราศ คือมักขึ้นต้นด้วยวรรครับ และลงท้ายด้วยเอย
นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนแปด มีความยาว ๙๘ คำกลอน ลักษณะเฉพาะของกลอนนิราศ คือมักขึ้นต้นด้วยวรรครับ และลงท้ายด้วยเอย
ที่มาของเรื่อง
เป็นวรรคดีประเภทนิราศ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ (พ.ศ.๒๓๒๙-๒๓๙๘) ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ.๒๓๗๑) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ มีอายุราว ๔๒ ปี
เป็นวรรคดีประเภทนิราศ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ (พ.ศ.๒๓๒๙-๒๓๙๘) ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ.๒๓๗๑) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ มีอายุราว ๔๒ ปี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ด้วยเชื่อว่ามีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่
เพื่อไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ด้วยเชื่อว่ามีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่
ประวัติผู้แต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่าภู่ เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกันฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกลหรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงาน มีสามีใหม่และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คนเป็นผู้หญิงชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก
สุนทรภู่ได้เดินทางไปบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับกรุงเทพฯ ก็ล่วงถึงเดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙ หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสองค์เล็กของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ในช่วงนี้สุนทรภู่ก็สมหวังในความรัก ได้แม่จันเป็นภรรยา สุนทรภู่เป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นานก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภู่ได้แต่นิราศเรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จถึงกรุงเทพฯในเดือน ๓ ปี พ.ศ.๒๓๕๐ สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกลได้รับอุปการะหนูพัดไว้
รับราชการครั้งแรกก็สมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ด้วยอาจจะมาจากที่รัชกาลที่ ๒ ชอบบทกลอนเหมือนกัน แต่หลังจากรัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต นอกจากแผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุดในชีวิตได้เป็นถึงกวีที่ปรึกษาในราชสำนักก็หมดวาสนาไปด้วย จึงลาออกจากราชการและตั้งใจบวชเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณเมื่อกลับจากกรุงเก่า พระสุนทรภู่ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม ปี พ.ศ.๒๓๗๒ เจ้าฟ้ากุลฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงฝากเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอสรองค์กลางและองค์น้อยให้เป็นศิษย์สุนทรภู่ การมีศิษย์ชั้นเจ้าฟ้าเช่นนี้จึงทำให้สุนทรภู่สุขสบายขึ้น พระสุนทรภู่อยู่วัดอรุณฯ ราว ๒ ปี จึงข้ามฟากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เล่ากันถึงสาเหตุที่พระสุนทรภู่ย้ายวัดมาก็เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงชักชวนให้มาอยู่ด้วย เชื่อว่าคงจะทรงคุ้นเคยกับสุนทรภู่ในฐานะที่เป็นกวีด้วยกัน โดยเฉพาะสมัยที่สุนทรภู่ เป็นขุนสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ๒ สุนทรภู่เกิดไปสนใจในเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะถึงแก่อุตสาหะไปค้นคว้า ทำให้เกิดนิราศวัดเจ้าฟ้าและนิราศสุพรรณ ปี พ.ศ.๒๓๘๓ สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่วัดเทพธิดาราม ท่านอยู่ที่นี้ได้ ๓ พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิตจึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราวในชีวิตของท่านอีกเป็นอันมาก จากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ ต่อมาเมื่อเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศได้ บวรราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแต่งตั้งให้สุนทรภู่เข้ารับราชการเป็นเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวรมีตำแหน่งเป็นพระสุนทรโวหาร สุนทรภู่ได้แต่งหนังสือในตอนนี้ ๓ เรื่อง คือ นิราศเมืองเพชร บทละครเรื่องอภัยนุราชและพระราชพงศาวดาร
สุนทรภู่รับราชการอยู่กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ ๕ ปี ก็ถึงแก่กรรม เมื่อปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘ มีอายุได้ ๗๐ ปี ผู้สืบสกุลของสุนทรภู่ใช้นามสกุล “ภู่เรือหงษ์”
ปี พ.ศ.๒๕๒๙ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ประกาศยกย่องสุนทรภู่เป็นกวีเอกของโลก
พระยาศรีสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่าภู่ เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกันฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกลหรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงาน มีสามีใหม่และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คนเป็นผู้หญิงชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก
สุนทรภู่ได้เดินทางไปบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับกรุงเทพฯ ก็ล่วงถึงเดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙ หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสองค์เล็กของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ในช่วงนี้สุนทรภู่ก็สมหวังในความรัก ได้แม่จันเป็นภรรยา สุนทรภู่เป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นานก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภู่ได้แต่นิราศเรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จถึงกรุงเทพฯในเดือน ๓ ปี พ.ศ.๒๓๕๐ สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกลได้รับอุปการะหนูพัดไว้
รับราชการครั้งแรกก็สมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ด้วยอาจจะมาจากที่รัชกาลที่ ๒ ชอบบทกลอนเหมือนกัน แต่หลังจากรัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต นอกจากแผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุดในชีวิตได้เป็นถึงกวีที่ปรึกษาในราชสำนักก็หมดวาสนาไปด้วย จึงลาออกจากราชการและตั้งใจบวชเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณเมื่อกลับจากกรุงเก่า พระสุนทรภู่ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม ปี พ.ศ.๒๓๗๒ เจ้าฟ้ากุลฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงฝากเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอสรองค์กลางและองค์น้อยให้เป็นศิษย์สุนทรภู่ การมีศิษย์ชั้นเจ้าฟ้าเช่นนี้จึงทำให้สุนทรภู่สุขสบายขึ้น พระสุนทรภู่อยู่วัดอรุณฯ ราว ๒ ปี จึงข้ามฟากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เล่ากันถึงสาเหตุที่พระสุนทรภู่ย้ายวัดมาก็เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงชักชวนให้มาอยู่ด้วย เชื่อว่าคงจะทรงคุ้นเคยกับสุนทรภู่ในฐานะที่เป็นกวีด้วยกัน โดยเฉพาะสมัยที่สุนทรภู่ เป็นขุนสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ๒ สุนทรภู่เกิดไปสนใจในเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะถึงแก่อุตสาหะไปค้นคว้า ทำให้เกิดนิราศวัดเจ้าฟ้าและนิราศสุพรรณ ปี พ.ศ.๒๓๘๓ สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่วัดเทพธิดาราม ท่านอยู่ที่นี้ได้ ๓ พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิตจึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราวในชีวิตของท่านอีกเป็นอันมาก จากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ ต่อมาเมื่อเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศได้ บวรราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแต่งตั้งให้สุนทรภู่เข้ารับราชการเป็นเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวรมีตำแหน่งเป็นพระสุนทรโวหาร สุนทรภู่ได้แต่งหนังสือในตอนนี้ ๓ เรื่อง คือ นิราศเมืองเพชร บทละครเรื่องอภัยนุราชและพระราชพงศาวดาร
สุนทรภู่รับราชการอยู่กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ ๕ ปี ก็ถึงแก่กรรม เมื่อปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘ มีอายุได้ ๗๐ ปี ผู้สืบสกุลของสุนทรภู่ใช้นามสกุล “ภู่เรือหงษ์”
ปี พ.ศ.๒๕๒๙ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ประกาศยกย่องสุนทรภู่เป็นกวีเอกของโลก
ผลงานของสุนทรภู่
ประเภทนิราศมี ๙
เรื่อง
๑. นิราศเมืองแกลง ถือว่าเป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่ พ.ศ.๒๓๕๐
๒. นิราศพระบาท พ.ศ.๒๓๕๐
๓. นิราศภูเขาทอง พ.ศ.๒๓๗๑
๔. นิราศเมืองเพชร พ.ศ.๒๓๗๑-๒๓๗๔
๕. นิราศนิราศวัดเจ้าฟ้า พ.ศ.๒๓๗๕
๖. นิราศอิเหนา พ.ศ.๒๓๗๕-๒๓๘๐
๗. นิราศสุพรรณ พงศ.๒๓๗๗-๒๓๘๐
๘. รำพันพิลาป พ.ศ.๒๓๘๕
๙. นิราศพระประธม พ.ศ.๒๓๘๕-๒๓๘๘
๑. นิราศเมืองแกลง ถือว่าเป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่ พ.ศ.๒๓๕๐
๒. นิราศพระบาท พ.ศ.๒๓๕๐
๓. นิราศภูเขาทอง พ.ศ.๒๓๗๑
๔. นิราศเมืองเพชร พ.ศ.๒๓๗๑-๒๓๗๔
๕. นิราศนิราศวัดเจ้าฟ้า พ.ศ.๒๓๗๕
๖. นิราศอิเหนา พ.ศ.๒๓๗๕-๒๓๘๐
๗. นิราศสุพรรณ พงศ.๒๓๗๗-๒๓๘๐
๘. รำพันพิลาป พ.ศ.๒๓๘๕
๙. นิราศพระประธม พ.ศ.๒๓๘๕-๒๓๘๘
ประเภทนิทานมี ๕
เรื่อง
๑. โคบุตร ๒. พระอภัยมณี ๓. พระไชยสุริยา
๔. ลักษณวงศ์ ๕. สิงหไกรภพ
๑. โคบุตร ๒. พระอภัยมณี ๓. พระไชยสุริยา
๔. ลักษณวงศ์ ๕. สิงหไกรภพ
ประเภทสุภาษิตมี ๒
เรื่อง
๑. สวัสดิรักษา ๒. เพลงยาวถวายโอวาท
๑. สวัสดิรักษา ๒. เพลงยาวถวายโอวาท
ประเภทบทละครมี ๑
เรื่อง
๑. อภัยนุราช
๑. อภัยนุราช
ประเภทเสภามี ๒
เรื่อง
๑. ขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม
๒. พระราชพงศาวดาร
๑. ขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม
๒. พระราชพงศาวดาร
ประเภทบทเห่กล่อมมี ๔
เรื่อง
๑. จับระบำ ๒. กากี ๓. พระอภัยมณี ๔. โตบุตร
๑. จับระบำ ๒. กากี ๓. พระอภัยมณี ๔. โตบุตร
สาระสำคัญของเรื่อง
หลังจากออกพรรษาและรับกฐินในเดือน ๑๑ แล้ว สุนทรภู่พร้อมกับหนูพัดซึ่งเป็นบุตรชายที่ยังเด็กอยู่ ได้เดินทางออกจากวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรือผ่านตำหนักแพและพระบรมมหาราชวัง ผ่านตำบลและสถานที่ต่างๆ ตามลำดับ เช่น บางพลัด นนทบุรี ปากเกร็ด สามโคก ฯลฯ จนกระทั่งถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในตอนค่ำแวะจอดพักค้างคืนอยู่ที่หน้าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือมีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน ครั้นรุ่งเช้าเป็นวันพระได้เดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองซึ่งเชื่อว่ามีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ สุนทรภู่อธิษฐานขอพรพระให้ได้เกิดเป็นคนดี มีศีลธรรม มีความสุขทั้งกายและใจทุกชาติเพื่อจุดมุ่งหมายให้ถึงพระนิพพานในอนาคตหลังจากกราบพระ สุนทรภู่ได้พบพระธาตุในเกสรดอกบัว จึงอัญเชิญพระธาตุประดิษฐานไว้ในขวดแก้ววางไว้ใกล้ศีรษะ แต่รุ่งเช้าเมื่อจะบูชาองค์พระธาตุกลับหายไป ในเช้าวันนั้นเองสุนทรภู่เดินทางกลับกรุงเทพฯ และมาถึงวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) ในเย็นวันเดียวกัน
หลังจากออกพรรษาและรับกฐินในเดือน ๑๑ แล้ว สุนทรภู่พร้อมกับหนูพัดซึ่งเป็นบุตรชายที่ยังเด็กอยู่ ได้เดินทางออกจากวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรือผ่านตำหนักแพและพระบรมมหาราชวัง ผ่านตำบลและสถานที่ต่างๆ ตามลำดับ เช่น บางพลัด นนทบุรี ปากเกร็ด สามโคก ฯลฯ จนกระทั่งถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในตอนค่ำแวะจอดพักค้างคืนอยู่ที่หน้าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือมีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน ครั้นรุ่งเช้าเป็นวันพระได้เดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองซึ่งเชื่อว่ามีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ สุนทรภู่อธิษฐานขอพรพระให้ได้เกิดเป็นคนดี มีศีลธรรม มีความสุขทั้งกายและใจทุกชาติเพื่อจุดมุ่งหมายให้ถึงพระนิพพานในอนาคตหลังจากกราบพระ สุนทรภู่ได้พบพระธาตุในเกสรดอกบัว จึงอัญเชิญพระธาตุประดิษฐานไว้ในขวดแก้ววางไว้ใกล้ศีรษะ แต่รุ่งเช้าเมื่อจะบูชาองค์พระธาตุกลับหายไป ในเช้าวันนั้นเองสุนทรภู่เดินทางกลับกรุงเทพฯ และมาถึงวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) ในเย็นวันเดียวกัน
ถอดคำประพันธ์
๑. ถึงเดือน
๑๑ ซึ่งออกจากการจำพรรษาแล้ว เมื่อรับกฐินเสร็จ ก็ต้องลงเรือด้วยความเศร้าโศก ออกจากวัดที่เคยอาศัยมา ๓
พรรษา จำต้องจากวัดราชบูรณะนี้ คงอีกนานกว่าจะได้มาเห็น
นึกแล้วเศร้าใจยิ่งนักทั้งนี้เป็นเพราะมีคนพาลมาใส่ร้าย คิดจะหาผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือท่านก็ไม่มีความยุติธรรม
จึงต้องอำลาวัดไปจนต้องมาอ้างว้างอยู่กลางสายน้ำ
๒. เมื่อล่องเรือมาถึงพระบรมมหาราชวังก็เศร้าโศกมาก คิดถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยผู้ซึ่งมีพระคุณกับสุนทรภู่อย่างมาก เมื่อก่อนเคยเข้าเฝ้าท่านอย่างใกล้ชิด เมื่อพระองค์สวรรคตก็เหมือนกับชีวิตของสุนทรภู่ตายไปด้วย เพราะไม่มีญาติหรือคนคอยช่วยเหลือชีวิตจึงยากแค้นแสนเข็ญอีกทั้งมีโรคมีกรรมเข้ามารุมล้อม ไม่เห็นจะมีใครพึ่งพาได้ จึงได้ขอบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้รัชกาลที่ ๒ ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมตลอดเวลา เพื่อเป็นสิ่งทดแทนพระคุณพระองค์ แม้เกิดชาติใดใดก็ขอให้เป็นข้ารับใช้พระองค์ตลอดไป
๓. เมื่อถึงหน้าแพก็เห็นเรือพระที่นั่ง คิดถึงเมื่อวันก่อนก็เศร้าจนน้ำตาไหล เคยหมอบกราบรัชกาลที่ ๒ กับพระจมื่นไวย ส่งเสด็จแล้วลงเรือพระที่นั่ง เคยรับราชโองการอ่านในงานฉลอง แม้เรือที่มาทอดกฐินหมดแล้วก็ยังมิได้ทำให้พระองค์ขัดใจแต่อย่างใด เคยหมอบกราบใกล้จนได้กลิ่นหอมจากพระวรกาย กลิ่นหอมนั้นหอมจนติดจมูก แต่เมื่อพระองค์สวรรคตก็สิ้นกลิ่นหอมไปด้วย อีกทั้งยังเหมือนวาสนาของสุนทรภู่ก็สิ้นตามกลิ่นไปด้วย
๔. มองไปที่พระบรมราชวังยังเห็นหอที่เก็บพระอัฐิของรัชกาลที่ ๒ ก็ขอถวายส่วนบุญส่วนกุศลไปให้
๕. เมื่อถึงวัดประโคนปักก็มองไปไม่เห็นเสาหินที่ลือกัน เป็นเสาที่สำคัญในแผ่นดิน ถึงจะไม่เห็นก็ขออำนาจแห่งพระพุทธคุณ ขอให้อายุยืนหมื่นๆ ปีเท่าดังเสาศิลา อยู่คู่ฟ้าดินได้ตลอดไป พอเรือล่องเลยวัดก็มองดูริมท่าน้ำ มีแพมาจอดขายของอยู่เรียงรายมีขายทั้งผ้าแพรสีม่วงและสีอื่นๆ ทั้งสิ่งของที่มาจากเมืองจีน
๖. ถึงโรงเหล้าก็มีควันออกมาจากเตากลั่นมากมาย มีเครื่องตักน้ำผูกไว้ปลายเสา สุนทรภู่เคยดื่มน้ำเหล้าจนเมาเหมือนคนบ้า จึงได้บวชเพื่อจะได้พ้นจากอบายมุข ขอให้ได้ตรัสรู้ดังพระพุทธเจ้า แต่เหล้าเคยทำให้รอดชีวิตดังนั้นจะเมินไปก็เกินไป ถึงจะไม่เมาเหล้าแต่ก็ยังเมารักอยู่ หักห้ามใจไม่ให้รักไม่ได้ การเมาเหล้านั้นพอรุ่งขึ้นก็หายไป แต่ถ้าเมารักนี้จะไม่หายจะเมาอยู่ทุกวันไป
๗. ถึงบางจากก็เหมือนตัวสุนทรภู่ที่ต้องจากวัดราชบูรณะจากพี่น้อง ต้องทนจากมาด้วยความไม่เต็มใจ
๘. ถึงบางพลูคิดถึงนางจันทร์ที่เคยแต่งงานกัน เคยส่งหมากพลูโดยใส่ซองให้ทั้งหมดเป็นใบเหลืองซึ่งอร่อยมาก ถึงบางพลัดก็ไม่อยากได้ยินคำว่าพลัดเพราะได้พลัดจากนางจัน ทั้งยังพลัดจากเมืองและอื่นๆ
๙. ถึงบางโพก็คิดถึงต้นโพธิ์ ให้ร่มเงา ให้ความร่มเย็น ขออำนาจพระพุทธคุณ ขอให้ตนพ้นจากภัยตลอดไป
๑๐. ถึงบ้านญวนเห็นมีพ่อค้าขายของเช่นกุ้งหรือปลาโดยการขังไว้ในข้อง ข้างหน้าโรงมีโพงพางดักปลาวางเรียงไว้ มีทั้งผู้หญิงและผู้ชายมาจับจ่ายซื้อของ จะมองกลับไปยังประเทศบ้านเกิดก็มีแต่ความทุกข์ทรมาน จิตใจก็หม่นหมอง ล่องเรือมาจนถึงวัดเขมา ก็รู้ว่าพึ่งเลิกงานฉลองไปเมื่อวาน
๑๑. คิดถึงเมื่อก่อนรัชกาลที่ ๒ ได้มาตัดหวายลูกนิมิต ได้ชมพระพิมพ์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ องค์ซึ่งเท่ากับจำนวนพระธรรมที่อยู่ในพระไตรปิฎกที่อยู่ริมผนัง แต่ครั้งนี้ไม่ได้เห็นงานฉลอง ด้วยสุนทรภู่ต้องหมดวาสนาและลำบาก เป็นเพราะบุญน้อยก็รู้สึกเศร้า แต่แล้วเรือก็ติดน้ำวน บางส่วนก็พุ่งวนเหมือนกงเกวียนดูเวียนเป็นเหมือนพายุวน ทั้งหัวท้ายเรือต้องรีบแจวเรือ เรือจึงหลุดน้ำวนออกมาได้ แต่ถึงเรือจะพ้นน้ำวนมาแล้วแต่ใจก็ยังไม่พ้นจากความรัก
๑๒. ถึงตลาดแก้วแต่ไม่เห็นมีตลาดตั้งขายของทั้งสองฝั่งเห็นแต่ต้นไม้พืชพันธุ์ต่างๆ ได้กลิ่นดอกไม้หอมไปเรื่อยๆ ตลอดทางและกลิ่นหมอเหมือนผ้าแพรที่ย้อมด้วยมะเกลือ เห็นต้นโศกใหญ่และต้นระกำเป็นแผงแต่แปลกที่มีต้นรักขึ้นแซมอยู่ด้วย เหมือนความโศกเศร้าระกำใจที่สุนทรภู่ต้องเป็นเพราะรักแม่จัน
๑๓. เมื่อถึงจังหวัดนนทบุรีก็เห็นตลาดน้ำ มีแพซึ่งขายเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม มีทั้งเรือจอดอยู่เพื่อขายผลไม้จากสวน มีผู้หญิงผู้ชายมาซื้อของกันมากมาย
๑๔. มาถึงหมู่บ้านบางธรณีก็โศกเศร้ามาก เพราะความยากลำบากจนอยากจะร้องไห้ ทั้งที่แผ่นดินมีขนาดถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ แต่เมื่อถึงคราวลำบากแม้แต่แผ่นดินก็ไม่มีที่อาศัย เหมือนโดนหนามเสียดแทงเจ็บแสบมาก เหมือนนกไม่มีรังที่จะอาศัยต้องเร่ร่อนไปเรื่อยๆ
๑๕. ถึงตำบลปากเกร็ดซึ่งเป็นบริเวณที่ชาวมอญอาศัยอยู่ ตามธรรมเนียมผู้หญิงมอญจะเกล้าผมแต่สมัยนี้ผู้หญิงมอญมาถอนไรผมเหมือนตุ๊กตา ทั้งยังใช้เครื่องสำอาง ใช้แป้งผัดหน้าเหมือนกับชาวไทยทำให้เห็นได้ว่าสมัยนี้ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความเที่ยงแท้ เหมือนที่ชาวมอญละทิ้งประเพณีวัฒนธรรมของตนเองแล้วจะนับประสาอะไรกับจิตใจของตน ที่จะมีเพียงใจเดียว แต่คนเรามักจะหลายใจ
๑๖. ถึงบางพูดสุนทรภู่ก็นึกถึงคำที่เกี่ยวกับคำพูดที่ว่า ถ้าใครพูดดีก็จะมีคนรัก แต่ถ้าพุดไม่ดีก็อาจจะเป็นภัยต่อตนเองได้ อีกทั้งยังไม่มีใครคบ ไม่มีเพื่อนสนิทมิตรสหาย จะดูว่าใครดีหรือไม่ดีดูได้จากการพูด
๑๗. ถึงบ้านใหม่สุนทรภู่ก็คิดอยากจะได้บ้านสักหลัง อยากขอกับเทวดาให้สมดังปรารถนา เพราะการมีบ้านใหม่จะได้มีความสุขและจะมีที่อาศัยอย่างปลอดภัย
๑๘. ถึงบางเดื่อก็คิดถึงลูกมะเดื่อที่ภายนอกนั้นดูสวยงามน่ารับประทานแต่ภายในกลับมีแมลงมีหนอนอยู่เหมือนกับคนพาลที่ปากพูดดีแต่ในใจคิดทำอันตราย
๑๙. ถึงบางหลวงเหมือนจากนางจันมานานแล้ว ยังต้องสละจากยศถาบรรดาศักดิ์เพื่อมาบวช เพื่อจะได้พ้นจากกิเลสทั้งหลายทั้งปวง ถึงจะมีนางฟ้ามายั่วก็ไม่สนใจ
๒๐. ถึงสามโคกก็คิดถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งพระองค์ปกครองกรุงเทพฯ พระองค์ได้พระราชทานนามเมืองสามโคก จากการเป็นหัวเมืองชั้นสาม เป็นเมืองปทุมธานีเป็นเพราะมีบัวจำนวนมาก ถึงพระองค์จะเสด็จสวรรคตไปแล้วแต่ชื่อปทุมธานีคงอยู่ตลอดไป แต่ทำไมชื่อของสุนทรภู่คือขุนสุนทรโวหารที่ได้รับพระราชทานนามมาแต่กลับไม่มีชื่ออยู่ต่างกับปทุมธานี สุนทรภู่ต้องเร่ร่อนไม่มีบ้านอาศัย แม้เกิดในชาติไหนก็ขอให้ได้เป็นข้ารับใช้พระองค์ตลอดไป พอพระองค์สวรรคตสุนทรภู่ก็ขอตายตามไปด้วย เพื่อจะได้รับใช้และพึ่งพระองค์ เดี๋ยวนี้ก็เศร้าโศกใจทุกข์ระทมอย่างทวีคูณมากต้องเร่ร่อนไปเรื่อยๆ ชีวิตไม่มีจุดมุ่งหมาย
๒๑. ถึงบ้านงิ้วก็เห็นมีแต่ต้นงิ้ว ซึ่งไม่มีนกหรือสัตว์อื่นๆ อยู่บนกิ่งเลยเพราะต้นงิ้วมีหนามขึ้นอยู่มากมายนึกถึงก็น่ากลัวหนามเพราะถ้าโดนคงเจ็บมาก แต่งิ้วในนรกยาวถึง ๑๖ องคุลีแหลมเหมือนกับไม้ไผ่เหลาทำกับดัก ซึ่งใครมีชู้เมื่อตายไปแล้วก็ต้องไปปีนต้นงิ้วในนรก แต่สุนทรภู่มีอายุมากแล้วและยังครองตัวอยู่ในศีลธรรมไม่มีชู้ แต่ทุกวันนี้ผู้คนวิปริตมีชู้กันมากเมื่อตายไปคงต้องไปปีนต้นงิ้วในนรกกันบ้าง
๒๒. ทั้งหมดที่คิดมานั้นสามารถตัดขาดได้ แต่การตัดความรักยากยิ่งนัก นั่งนึกก็ยิ่งอนาถใจจนเย็นถึงเกาะใหญ่ราชคราม มองไปเห็นบ้านเรือนต่างๆ อยู่ห่างจากสองฝั่งมาก ในที่นี้ต้องระวังจระเข้จะทำร้ายทั้งที่ที่ยังเป็นที่อยู่ของผู้ร้ายซึ่งมาคอยดักปล้น คิดแล้วน่าเบื่อยิ่งนัก
๒๓. เมื่อพระอาทิตย์ตกก็มีเมฆมืดครึ้มมาจนมืดไปทั่ว พายเรือถึงทางลัดซึ่งเป็นทางตัดกลางนาก็เห็นมีต้นแฝกต้นคา ต้นแขม ต้นกกขึ้นปะปนกันอยู่มากเงาของต้นพวกนี้ทอดลงน้ำทำให้ดูเวิ้งว้างมองดูทีไรก็รู้สึกกลัวทุกที มองเห็นเงาของหญิงชายที่ส่งเสียงคุยกัน เรือของพวกเขาเพรียวเล็กและมีปลาอยู่บนเรือด้วย พวกเขาถ่อเรือคล่องแคล่วเดินทางไปอย่างรวดเร็ว แต่เรือของสุนทรภู่ไปช้ามากช่างน่าสงสารลูกศิษย์ที่ต้องถ่อเรืออย่างเหน็ดเหนื่อยทั้งๆ ที่ไม่คุ้นเส้นทาง บางครั้งเรือก็เสยเข้าพงหญ้า จะถอยหลังก็ถอยยาก เรือก็โคลงจนกระโถนใส่หมากหก พอเงี่ยหูฟังก็ไม่ได้ยินเสียงสัตว์เลยซักตัว มีแต่เสียงน้ำค้างตกมองไปไม่เห็นคลองเลยต้องค้างอยู่กลางทุ่ง พอหยุดเรือยุงก็มารุมกัดเจ็บมากเลยไม่ได้นอนเพราะนั่งตบยุง
๒๔. สุนทรภู่รู้สึกเหงามาก มองไปในทุ่งเห็นมีแต่ต้นแขมขึ้นอยู่จนดึก มีดาวอยู่กลางท้องฟ้า มีนกกระเรียนบินและส่งเสียงร้องตอนเที่ยงคืน มีเสียงกบเขียดร้อง มีลมพัดเฉื่อยๆ สุนทรภู่รู้สึกวังเวงก็คิดถึงเมื่อครั้งมียศถาบรรดาศักดิ์ ได้เฮฮากับเพื่อนๆ มีคนคอยปรนนิติรับใช้ แต่ยามลำบากขณะนี้เห็นแต่ลูกชาย คอยช่วยนั่งปัดยุงให้ไม่ว่าง จนพระจันทร์ขึ้นก็เห็นต้นกระจับ ต้นจอก มีดอกบัวเผื่อน คืนนี้เป็นคืนเดือนหงายพอมองเห็นคลองทั้งสองด้านก็รีบถ่อเรือลงคลอง จนรุ่งเช้าก็เห็นพันธุ์ผักดูน่ารัก มีบัวเผื่อนอยู่สองข้างทางที่เรือพายไป มีต้นก้ามกุ้ง สาหร่ายใต้น้ำ ต้นสายติ่งขึ้นสลับกับต้นตับเต่าเป็นกลุ่มๆ มองไปเหมือนกับดาวบนท้องฟ้า เหล่านี้ถ้าผู้หญิงได้มาเห็นก็คงจะลงเล่นกลางทุ่ง ที่มีเรือก็คงจะพายไปเก็บสายบัว ถ้าสุนทรภู่มีโยมผู้หญิงก็คงไม่นิ่งเฉยให้อายดอกไม้ คงจะให้ศิษย์ไปเก็บของฝากเท่าที่จะทำได้ในตอนนี้ แต่นี่จนใจไม่มีเงินสักนิด ทั้งยังขี้เกียจเก็บจึงเลยมา พออ่อนแสงของพระอาทิตย์ก็ถึงกรุงศรีอยุธยาสุนทรภู่ก็รู้สึกเศร้าใจ
๒๕. เมื่อถึงหน้าจวนของเพื่อนสุนทรภู่ สุนทรภู่ก็คิดถึงเมื่อก่อนจนน้ำตาไหล สุนทรภู่ตั้งใจจะแวะมาเยี่ยมเยียน ถ้ายังเหมือนเมื่อก่อนก็ยังได้รับนิมนต์ขึ้นบนจวน แต่ในครั้งนี้หากไปพบก็กลัวว่าจะหัวเราะเยาะจนต้องอาย จึงไม่กล้าไปพบเพื่อน
๒๖. จอดเรือที่ข้างวักพระเมรุซึ่งริมวัดมีเรือจอดอยู่ บางลำมีคนร้องเล่น บางลำก็ร้องเพลงเกี้ยวกัน บางลำฉลองผ้าป่าด้วยการขับเสภา ทั้งยังมีคนตีระนาดซึ่งตีเก่งเหมือนนานเส็ง (คนเก่งระนาดสมัยสุนทรภู่) มีโคมแขวนอยู่เรียงรายเหมือนอย่างสามเพ็ง เมื่อคราวเคร่งในศาสนาก็ไม่ได้ดู มีเรือลำหนึ่งเล่นกลอนสนุกมาก ร้องกลอนยากมีลูกเล่นจนลูกคู่เบื่อ ได้เห็นและฟังการละเล่นต่างๆ ที่ข้างวัดพอดึกก็นอน ประมาณสามยามก็มีโจรขึ้นเรือ พอมีเสียงกุกกักสุนทรภู่ก็ลุกขึ้นโวยวาย โจรก็รีบดำน้ำไปอย่างว่องไวมองไปไม่เห็นหญ้า ลูกศิษย์ก็ทำอะไรไม่ถูกด้วยความกลัวแต่หนูพัดจุดเทียนส่องดูว่ามีอะไรหายไปบ้าง แต่ไม่มีอะไรหายแม้แต่เครื่องอัฐบริขาร ทั้งนี้ด้วยเพราะบุญและพระพุทธคุณ ทำให้รอดพ้นจากภัยในครั้งนี้
๒๗. รุ่งเช้าเป็นวันพระซึ่งจะได้บูชาพระธรรม ได้บูชาเจดีย์ภูเขาทองซึ่งดูสูงเสียดฟ้า อยู่กลางทุ่งดูโดดเด่นมีน้ำใสอยู่รอบๆ ที่ฐานสร้างเป็นรูปกลีบบัว ถัดมาจากบันไดมีน้ำไหลล้อมรอบเป็นขอบ มีเจดีย์มีวิหารมีลานวัด มีกำแพงกั้นอยู่ สถาปัตยกรรมการก่อสร้างใช้รูปแบบการย่อเหลี่ยมมุมไม้ ๑๒ อย่างสวยงามเป็นสามชั้นอย่างงดงาม บันไดมี ๔ ด้าน สุนทรภู่ขึ้นไปชั้น ๓ ตั้งใจเวียน ๓ รอบก็กราบเจดีย์ มีห้องที่เป็นถ้ำสำหรับจุดเทียนเพราะลมจะพัดธูปเทียนดับ ตอนนั้นบังเกิดสิ่งอัศจรรย์มีลมพัดเวียนขวาราวกับจะเวียนเทียนด้วย ทุกวันนี้เจดีย์ดูเก่าและทรุดโทรมมาก ที่ฐานร้าวถึงเก้าแฉก ที่ยอดก็หักองค์พระเจดีย์ก็หลุด เป็นเพราะเจดีย์ไม่มีคนคอยดูแล นึกแล้วเสียดายจนน่าเศร้า แล้วจะเทียบอะไรกับชื่อเสียงเกียรติยศของมนุษย์ ก็คงหมดในไม่ช้า เหมือนกับเป็นผู้ดีแล้วลำบาก เป็นคนมั่งมีแล้วยากจน คิดแล้วทุกอย่างไม่เที่ยงแท้
๒๘. ขออำนาจแห่งเจดีย์ภูเขาทองซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขอให้การที่ได้มากราบในครั้งนี้เป็นบุญเพื่อเป็นอานิสงส์ให้พ้นภัยต่างๆ ถ้าจะเกิดชาติไหนๆ ก็ขอให้บริสุทธิ์ทั้งกาย ใจ ความทุกข์ความโศกอย่าได้เข้ามาใกล้ สบายทุกชาติ ทั้งความโลภ โกรธ หลงขอให้ตนชนะได้ ขอให้มีสติปัญญาหลักแหลมมีศีลธรรมอยู่ในใจ อย่าให้หญิงร้ายและชายชั่วได้มารู้จัก ขอให้สมหวังดังหวังทั้งชาตินี้และชาติหน้า
๒๙. พอก้มลงกราบพระพุทธรูปเงยขึ้นก็เห็นดอกบัวและเห็นพระบรมสารีริกธาตุอยู่ในเกสรก็ดีใจมากและช้อนประคองลงเรือ พอหนูพัดกราบไหว้เสร็จแล้วก็ใส่พระบรมสารีริกธาตุไว้ในขวดแก้ว วางไว้ใกล้ศีรษะที่หัวนอน ตั้งใจจะนอนที่กรุงศรีอยุธยาและรุ่งเช้าจะบูชาพระบรมสารีริกธาตุแต่พอตื่นมาไม่เห็นพระบรมสารีริกธาตุก็ตกใจอย่างมากทั้งที่วางไว้ใกล้ศีรษะ สุนทรภู่ว่าเป็นเพราะบุญตนน้อยทำให้พระธาตุลอยน้ำไปไกล สุนทรภู่คิดว่าไม่สามารถอยู่ที่เจดีย์ภูเขาทองต่อได้เพราะจะยิ่งเศร้าโศกและร้อนใจยิ่งขึ้น พอพระอาทิตย์ขึ้นก็ล่องเรือถึงกรุงเทพฯ โดยใช้เวลาเดินทาง ๑ วัน
๓๐. ถึงหน้าวัดอรุณก็ค่อยสร่างจากเศร้าเพราะได้กราบพระพุทธรูป นิราศภูเขาทองของสุนทรภู่เรื่องนี้ได้แต่งเพื่ออ่านคลายเหงา เพราะได้ไปกราบไหว้พระ กราบพระบรมสารีริกธาตุ เพราะคนที่นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อไม่สบายใจก็จะกราบไหว้พระเพื่อให้สบายใจ ตอนนี้สุนทรภู่ใช่ว่าจะมีคนรักหรือพึ่งจะจากรักมา แต่ที่กล่าวถึงผู้หญิงก็เพราะเป็นธรรมเนียมการแต่งนิราศ เหมือนแม่ครัวจะปรุงอาหารประเภทพะแนงนอกจากจะใส่เครื่องปรุงและเนื้อสัตว์แล้วยังต้องใส่พริกไทยใบผักชีเพื่อเพิ่มความน่ารับประทานแก่อาหาร ผู้หญิงก็เหมือนพริกไทยใบผักชีเพื่อให้นิราศนี้น่าอ่าน ขอให้ทราบความจริงทุกๆ อย่างว่าสุนทรภู่ไม่ได้มีผู้หญิงเลย ขออย่าได้นินทาให้เสียเพราะคนที่มีความสามารถในเชิงกลอนเวลาเดินทางจะให้นั่งๆ นอนๆ เฉยๆ ก็จะน่าเบื่อจึงต้องแต่งกลอนเพื่อคลายเหงาและคลายความเศร้าใจ และฝากผลงานให้เป็นที่ประจักษ์
๒. เมื่อล่องเรือมาถึงพระบรมมหาราชวังก็เศร้าโศกมาก คิดถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยผู้ซึ่งมีพระคุณกับสุนทรภู่อย่างมาก เมื่อก่อนเคยเข้าเฝ้าท่านอย่างใกล้ชิด เมื่อพระองค์สวรรคตก็เหมือนกับชีวิตของสุนทรภู่ตายไปด้วย เพราะไม่มีญาติหรือคนคอยช่วยเหลือชีวิตจึงยากแค้นแสนเข็ญอีกทั้งมีโรคมีกรรมเข้ามารุมล้อม ไม่เห็นจะมีใครพึ่งพาได้ จึงได้ขอบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้รัชกาลที่ ๒ ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมตลอดเวลา เพื่อเป็นสิ่งทดแทนพระคุณพระองค์ แม้เกิดชาติใดใดก็ขอให้เป็นข้ารับใช้พระองค์ตลอดไป
๓. เมื่อถึงหน้าแพก็เห็นเรือพระที่นั่ง คิดถึงเมื่อวันก่อนก็เศร้าจนน้ำตาไหล เคยหมอบกราบรัชกาลที่ ๒ กับพระจมื่นไวย ส่งเสด็จแล้วลงเรือพระที่นั่ง เคยรับราชโองการอ่านในงานฉลอง แม้เรือที่มาทอดกฐินหมดแล้วก็ยังมิได้ทำให้พระองค์ขัดใจแต่อย่างใด เคยหมอบกราบใกล้จนได้กลิ่นหอมจากพระวรกาย กลิ่นหอมนั้นหอมจนติดจมูก แต่เมื่อพระองค์สวรรคตก็สิ้นกลิ่นหอมไปด้วย อีกทั้งยังเหมือนวาสนาของสุนทรภู่ก็สิ้นตามกลิ่นไปด้วย
๔. มองไปที่พระบรมราชวังยังเห็นหอที่เก็บพระอัฐิของรัชกาลที่ ๒ ก็ขอถวายส่วนบุญส่วนกุศลไปให้
๕. เมื่อถึงวัดประโคนปักก็มองไปไม่เห็นเสาหินที่ลือกัน เป็นเสาที่สำคัญในแผ่นดิน ถึงจะไม่เห็นก็ขออำนาจแห่งพระพุทธคุณ ขอให้อายุยืนหมื่นๆ ปีเท่าดังเสาศิลา อยู่คู่ฟ้าดินได้ตลอดไป พอเรือล่องเลยวัดก็มองดูริมท่าน้ำ มีแพมาจอดขายของอยู่เรียงรายมีขายทั้งผ้าแพรสีม่วงและสีอื่นๆ ทั้งสิ่งของที่มาจากเมืองจีน
๖. ถึงโรงเหล้าก็มีควันออกมาจากเตากลั่นมากมาย มีเครื่องตักน้ำผูกไว้ปลายเสา สุนทรภู่เคยดื่มน้ำเหล้าจนเมาเหมือนคนบ้า จึงได้บวชเพื่อจะได้พ้นจากอบายมุข ขอให้ได้ตรัสรู้ดังพระพุทธเจ้า แต่เหล้าเคยทำให้รอดชีวิตดังนั้นจะเมินไปก็เกินไป ถึงจะไม่เมาเหล้าแต่ก็ยังเมารักอยู่ หักห้ามใจไม่ให้รักไม่ได้ การเมาเหล้านั้นพอรุ่งขึ้นก็หายไป แต่ถ้าเมารักนี้จะไม่หายจะเมาอยู่ทุกวันไป
๗. ถึงบางจากก็เหมือนตัวสุนทรภู่ที่ต้องจากวัดราชบูรณะจากพี่น้อง ต้องทนจากมาด้วยความไม่เต็มใจ
๘. ถึงบางพลูคิดถึงนางจันทร์ที่เคยแต่งงานกัน เคยส่งหมากพลูโดยใส่ซองให้ทั้งหมดเป็นใบเหลืองซึ่งอร่อยมาก ถึงบางพลัดก็ไม่อยากได้ยินคำว่าพลัดเพราะได้พลัดจากนางจัน ทั้งยังพลัดจากเมืองและอื่นๆ
๙. ถึงบางโพก็คิดถึงต้นโพธิ์ ให้ร่มเงา ให้ความร่มเย็น ขออำนาจพระพุทธคุณ ขอให้ตนพ้นจากภัยตลอดไป
๑๐. ถึงบ้านญวนเห็นมีพ่อค้าขายของเช่นกุ้งหรือปลาโดยการขังไว้ในข้อง ข้างหน้าโรงมีโพงพางดักปลาวางเรียงไว้ มีทั้งผู้หญิงและผู้ชายมาจับจ่ายซื้อของ จะมองกลับไปยังประเทศบ้านเกิดก็มีแต่ความทุกข์ทรมาน จิตใจก็หม่นหมอง ล่องเรือมาจนถึงวัดเขมา ก็รู้ว่าพึ่งเลิกงานฉลองไปเมื่อวาน
๑๑. คิดถึงเมื่อก่อนรัชกาลที่ ๒ ได้มาตัดหวายลูกนิมิต ได้ชมพระพิมพ์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ องค์ซึ่งเท่ากับจำนวนพระธรรมที่อยู่ในพระไตรปิฎกที่อยู่ริมผนัง แต่ครั้งนี้ไม่ได้เห็นงานฉลอง ด้วยสุนทรภู่ต้องหมดวาสนาและลำบาก เป็นเพราะบุญน้อยก็รู้สึกเศร้า แต่แล้วเรือก็ติดน้ำวน บางส่วนก็พุ่งวนเหมือนกงเกวียนดูเวียนเป็นเหมือนพายุวน ทั้งหัวท้ายเรือต้องรีบแจวเรือ เรือจึงหลุดน้ำวนออกมาได้ แต่ถึงเรือจะพ้นน้ำวนมาแล้วแต่ใจก็ยังไม่พ้นจากความรัก
๑๒. ถึงตลาดแก้วแต่ไม่เห็นมีตลาดตั้งขายของทั้งสองฝั่งเห็นแต่ต้นไม้พืชพันธุ์ต่างๆ ได้กลิ่นดอกไม้หอมไปเรื่อยๆ ตลอดทางและกลิ่นหมอเหมือนผ้าแพรที่ย้อมด้วยมะเกลือ เห็นต้นโศกใหญ่และต้นระกำเป็นแผงแต่แปลกที่มีต้นรักขึ้นแซมอยู่ด้วย เหมือนความโศกเศร้าระกำใจที่สุนทรภู่ต้องเป็นเพราะรักแม่จัน
๑๓. เมื่อถึงจังหวัดนนทบุรีก็เห็นตลาดน้ำ มีแพซึ่งขายเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม มีทั้งเรือจอดอยู่เพื่อขายผลไม้จากสวน มีผู้หญิงผู้ชายมาซื้อของกันมากมาย
๑๔. มาถึงหมู่บ้านบางธรณีก็โศกเศร้ามาก เพราะความยากลำบากจนอยากจะร้องไห้ ทั้งที่แผ่นดินมีขนาดถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ แต่เมื่อถึงคราวลำบากแม้แต่แผ่นดินก็ไม่มีที่อาศัย เหมือนโดนหนามเสียดแทงเจ็บแสบมาก เหมือนนกไม่มีรังที่จะอาศัยต้องเร่ร่อนไปเรื่อยๆ
๑๕. ถึงตำบลปากเกร็ดซึ่งเป็นบริเวณที่ชาวมอญอาศัยอยู่ ตามธรรมเนียมผู้หญิงมอญจะเกล้าผมแต่สมัยนี้ผู้หญิงมอญมาถอนไรผมเหมือนตุ๊กตา ทั้งยังใช้เครื่องสำอาง ใช้แป้งผัดหน้าเหมือนกับชาวไทยทำให้เห็นได้ว่าสมัยนี้ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความเที่ยงแท้ เหมือนที่ชาวมอญละทิ้งประเพณีวัฒนธรรมของตนเองแล้วจะนับประสาอะไรกับจิตใจของตน ที่จะมีเพียงใจเดียว แต่คนเรามักจะหลายใจ
๑๖. ถึงบางพูดสุนทรภู่ก็นึกถึงคำที่เกี่ยวกับคำพูดที่ว่า ถ้าใครพูดดีก็จะมีคนรัก แต่ถ้าพุดไม่ดีก็อาจจะเป็นภัยต่อตนเองได้ อีกทั้งยังไม่มีใครคบ ไม่มีเพื่อนสนิทมิตรสหาย จะดูว่าใครดีหรือไม่ดีดูได้จากการพูด
๑๗. ถึงบ้านใหม่สุนทรภู่ก็คิดอยากจะได้บ้านสักหลัง อยากขอกับเทวดาให้สมดังปรารถนา เพราะการมีบ้านใหม่จะได้มีความสุขและจะมีที่อาศัยอย่างปลอดภัย
๑๘. ถึงบางเดื่อก็คิดถึงลูกมะเดื่อที่ภายนอกนั้นดูสวยงามน่ารับประทานแต่ภายในกลับมีแมลงมีหนอนอยู่เหมือนกับคนพาลที่ปากพูดดีแต่ในใจคิดทำอันตราย
๑๙. ถึงบางหลวงเหมือนจากนางจันมานานแล้ว ยังต้องสละจากยศถาบรรดาศักดิ์เพื่อมาบวช เพื่อจะได้พ้นจากกิเลสทั้งหลายทั้งปวง ถึงจะมีนางฟ้ามายั่วก็ไม่สนใจ
๒๐. ถึงสามโคกก็คิดถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งพระองค์ปกครองกรุงเทพฯ พระองค์ได้พระราชทานนามเมืองสามโคก จากการเป็นหัวเมืองชั้นสาม เป็นเมืองปทุมธานีเป็นเพราะมีบัวจำนวนมาก ถึงพระองค์จะเสด็จสวรรคตไปแล้วแต่ชื่อปทุมธานีคงอยู่ตลอดไป แต่ทำไมชื่อของสุนทรภู่คือขุนสุนทรโวหารที่ได้รับพระราชทานนามมาแต่กลับไม่มีชื่ออยู่ต่างกับปทุมธานี สุนทรภู่ต้องเร่ร่อนไม่มีบ้านอาศัย แม้เกิดในชาติไหนก็ขอให้ได้เป็นข้ารับใช้พระองค์ตลอดไป พอพระองค์สวรรคตสุนทรภู่ก็ขอตายตามไปด้วย เพื่อจะได้รับใช้และพึ่งพระองค์ เดี๋ยวนี้ก็เศร้าโศกใจทุกข์ระทมอย่างทวีคูณมากต้องเร่ร่อนไปเรื่อยๆ ชีวิตไม่มีจุดมุ่งหมาย
๒๑. ถึงบ้านงิ้วก็เห็นมีแต่ต้นงิ้ว ซึ่งไม่มีนกหรือสัตว์อื่นๆ อยู่บนกิ่งเลยเพราะต้นงิ้วมีหนามขึ้นอยู่มากมายนึกถึงก็น่ากลัวหนามเพราะถ้าโดนคงเจ็บมาก แต่งิ้วในนรกยาวถึง ๑๖ องคุลีแหลมเหมือนกับไม้ไผ่เหลาทำกับดัก ซึ่งใครมีชู้เมื่อตายไปแล้วก็ต้องไปปีนต้นงิ้วในนรก แต่สุนทรภู่มีอายุมากแล้วและยังครองตัวอยู่ในศีลธรรมไม่มีชู้ แต่ทุกวันนี้ผู้คนวิปริตมีชู้กันมากเมื่อตายไปคงต้องไปปีนต้นงิ้วในนรกกันบ้าง
๒๒. ทั้งหมดที่คิดมานั้นสามารถตัดขาดได้ แต่การตัดความรักยากยิ่งนัก นั่งนึกก็ยิ่งอนาถใจจนเย็นถึงเกาะใหญ่ราชคราม มองไปเห็นบ้านเรือนต่างๆ อยู่ห่างจากสองฝั่งมาก ในที่นี้ต้องระวังจระเข้จะทำร้ายทั้งที่ที่ยังเป็นที่อยู่ของผู้ร้ายซึ่งมาคอยดักปล้น คิดแล้วน่าเบื่อยิ่งนัก
๒๓. เมื่อพระอาทิตย์ตกก็มีเมฆมืดครึ้มมาจนมืดไปทั่ว พายเรือถึงทางลัดซึ่งเป็นทางตัดกลางนาก็เห็นมีต้นแฝกต้นคา ต้นแขม ต้นกกขึ้นปะปนกันอยู่มากเงาของต้นพวกนี้ทอดลงน้ำทำให้ดูเวิ้งว้างมองดูทีไรก็รู้สึกกลัวทุกที มองเห็นเงาของหญิงชายที่ส่งเสียงคุยกัน เรือของพวกเขาเพรียวเล็กและมีปลาอยู่บนเรือด้วย พวกเขาถ่อเรือคล่องแคล่วเดินทางไปอย่างรวดเร็ว แต่เรือของสุนทรภู่ไปช้ามากช่างน่าสงสารลูกศิษย์ที่ต้องถ่อเรืออย่างเหน็ดเหนื่อยทั้งๆ ที่ไม่คุ้นเส้นทาง บางครั้งเรือก็เสยเข้าพงหญ้า จะถอยหลังก็ถอยยาก เรือก็โคลงจนกระโถนใส่หมากหก พอเงี่ยหูฟังก็ไม่ได้ยินเสียงสัตว์เลยซักตัว มีแต่เสียงน้ำค้างตกมองไปไม่เห็นคลองเลยต้องค้างอยู่กลางทุ่ง พอหยุดเรือยุงก็มารุมกัดเจ็บมากเลยไม่ได้นอนเพราะนั่งตบยุง
๒๔. สุนทรภู่รู้สึกเหงามาก มองไปในทุ่งเห็นมีแต่ต้นแขมขึ้นอยู่จนดึก มีดาวอยู่กลางท้องฟ้า มีนกกระเรียนบินและส่งเสียงร้องตอนเที่ยงคืน มีเสียงกบเขียดร้อง มีลมพัดเฉื่อยๆ สุนทรภู่รู้สึกวังเวงก็คิดถึงเมื่อครั้งมียศถาบรรดาศักดิ์ ได้เฮฮากับเพื่อนๆ มีคนคอยปรนนิติรับใช้ แต่ยามลำบากขณะนี้เห็นแต่ลูกชาย คอยช่วยนั่งปัดยุงให้ไม่ว่าง จนพระจันทร์ขึ้นก็เห็นต้นกระจับ ต้นจอก มีดอกบัวเผื่อน คืนนี้เป็นคืนเดือนหงายพอมองเห็นคลองทั้งสองด้านก็รีบถ่อเรือลงคลอง จนรุ่งเช้าก็เห็นพันธุ์ผักดูน่ารัก มีบัวเผื่อนอยู่สองข้างทางที่เรือพายไป มีต้นก้ามกุ้ง สาหร่ายใต้น้ำ ต้นสายติ่งขึ้นสลับกับต้นตับเต่าเป็นกลุ่มๆ มองไปเหมือนกับดาวบนท้องฟ้า เหล่านี้ถ้าผู้หญิงได้มาเห็นก็คงจะลงเล่นกลางทุ่ง ที่มีเรือก็คงจะพายไปเก็บสายบัว ถ้าสุนทรภู่มีโยมผู้หญิงก็คงไม่นิ่งเฉยให้อายดอกไม้ คงจะให้ศิษย์ไปเก็บของฝากเท่าที่จะทำได้ในตอนนี้ แต่นี่จนใจไม่มีเงินสักนิด ทั้งยังขี้เกียจเก็บจึงเลยมา พออ่อนแสงของพระอาทิตย์ก็ถึงกรุงศรีอยุธยาสุนทรภู่ก็รู้สึกเศร้าใจ
๒๕. เมื่อถึงหน้าจวนของเพื่อนสุนทรภู่ สุนทรภู่ก็คิดถึงเมื่อก่อนจนน้ำตาไหล สุนทรภู่ตั้งใจจะแวะมาเยี่ยมเยียน ถ้ายังเหมือนเมื่อก่อนก็ยังได้รับนิมนต์ขึ้นบนจวน แต่ในครั้งนี้หากไปพบก็กลัวว่าจะหัวเราะเยาะจนต้องอาย จึงไม่กล้าไปพบเพื่อน
๒๖. จอดเรือที่ข้างวักพระเมรุซึ่งริมวัดมีเรือจอดอยู่ บางลำมีคนร้องเล่น บางลำก็ร้องเพลงเกี้ยวกัน บางลำฉลองผ้าป่าด้วยการขับเสภา ทั้งยังมีคนตีระนาดซึ่งตีเก่งเหมือนนานเส็ง (คนเก่งระนาดสมัยสุนทรภู่) มีโคมแขวนอยู่เรียงรายเหมือนอย่างสามเพ็ง เมื่อคราวเคร่งในศาสนาก็ไม่ได้ดู มีเรือลำหนึ่งเล่นกลอนสนุกมาก ร้องกลอนยากมีลูกเล่นจนลูกคู่เบื่อ ได้เห็นและฟังการละเล่นต่างๆ ที่ข้างวัดพอดึกก็นอน ประมาณสามยามก็มีโจรขึ้นเรือ พอมีเสียงกุกกักสุนทรภู่ก็ลุกขึ้นโวยวาย โจรก็รีบดำน้ำไปอย่างว่องไวมองไปไม่เห็นหญ้า ลูกศิษย์ก็ทำอะไรไม่ถูกด้วยความกลัวแต่หนูพัดจุดเทียนส่องดูว่ามีอะไรหายไปบ้าง แต่ไม่มีอะไรหายแม้แต่เครื่องอัฐบริขาร ทั้งนี้ด้วยเพราะบุญและพระพุทธคุณ ทำให้รอดพ้นจากภัยในครั้งนี้
๒๗. รุ่งเช้าเป็นวันพระซึ่งจะได้บูชาพระธรรม ได้บูชาเจดีย์ภูเขาทองซึ่งดูสูงเสียดฟ้า อยู่กลางทุ่งดูโดดเด่นมีน้ำใสอยู่รอบๆ ที่ฐานสร้างเป็นรูปกลีบบัว ถัดมาจากบันไดมีน้ำไหลล้อมรอบเป็นขอบ มีเจดีย์มีวิหารมีลานวัด มีกำแพงกั้นอยู่ สถาปัตยกรรมการก่อสร้างใช้รูปแบบการย่อเหลี่ยมมุมไม้ ๑๒ อย่างสวยงามเป็นสามชั้นอย่างงดงาม บันไดมี ๔ ด้าน สุนทรภู่ขึ้นไปชั้น ๓ ตั้งใจเวียน ๓ รอบก็กราบเจดีย์ มีห้องที่เป็นถ้ำสำหรับจุดเทียนเพราะลมจะพัดธูปเทียนดับ ตอนนั้นบังเกิดสิ่งอัศจรรย์มีลมพัดเวียนขวาราวกับจะเวียนเทียนด้วย ทุกวันนี้เจดีย์ดูเก่าและทรุดโทรมมาก ที่ฐานร้าวถึงเก้าแฉก ที่ยอดก็หักองค์พระเจดีย์ก็หลุด เป็นเพราะเจดีย์ไม่มีคนคอยดูแล นึกแล้วเสียดายจนน่าเศร้า แล้วจะเทียบอะไรกับชื่อเสียงเกียรติยศของมนุษย์ ก็คงหมดในไม่ช้า เหมือนกับเป็นผู้ดีแล้วลำบาก เป็นคนมั่งมีแล้วยากจน คิดแล้วทุกอย่างไม่เที่ยงแท้
๒๘. ขออำนาจแห่งเจดีย์ภูเขาทองซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขอให้การที่ได้มากราบในครั้งนี้เป็นบุญเพื่อเป็นอานิสงส์ให้พ้นภัยต่างๆ ถ้าจะเกิดชาติไหนๆ ก็ขอให้บริสุทธิ์ทั้งกาย ใจ ความทุกข์ความโศกอย่าได้เข้ามาใกล้ สบายทุกชาติ ทั้งความโลภ โกรธ หลงขอให้ตนชนะได้ ขอให้มีสติปัญญาหลักแหลมมีศีลธรรมอยู่ในใจ อย่าให้หญิงร้ายและชายชั่วได้มารู้จัก ขอให้สมหวังดังหวังทั้งชาตินี้และชาติหน้า
๒๙. พอก้มลงกราบพระพุทธรูปเงยขึ้นก็เห็นดอกบัวและเห็นพระบรมสารีริกธาตุอยู่ในเกสรก็ดีใจมากและช้อนประคองลงเรือ พอหนูพัดกราบไหว้เสร็จแล้วก็ใส่พระบรมสารีริกธาตุไว้ในขวดแก้ว วางไว้ใกล้ศีรษะที่หัวนอน ตั้งใจจะนอนที่กรุงศรีอยุธยาและรุ่งเช้าจะบูชาพระบรมสารีริกธาตุแต่พอตื่นมาไม่เห็นพระบรมสารีริกธาตุก็ตกใจอย่างมากทั้งที่วางไว้ใกล้ศีรษะ สุนทรภู่ว่าเป็นเพราะบุญตนน้อยทำให้พระธาตุลอยน้ำไปไกล สุนทรภู่คิดว่าไม่สามารถอยู่ที่เจดีย์ภูเขาทองต่อได้เพราะจะยิ่งเศร้าโศกและร้อนใจยิ่งขึ้น พอพระอาทิตย์ขึ้นก็ล่องเรือถึงกรุงเทพฯ โดยใช้เวลาเดินทาง ๑ วัน
๓๐. ถึงหน้าวัดอรุณก็ค่อยสร่างจากเศร้าเพราะได้กราบพระพุทธรูป นิราศภูเขาทองของสุนทรภู่เรื่องนี้ได้แต่งเพื่ออ่านคลายเหงา เพราะได้ไปกราบไหว้พระ กราบพระบรมสารีริกธาตุ เพราะคนที่นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อไม่สบายใจก็จะกราบไหว้พระเพื่อให้สบายใจ ตอนนี้สุนทรภู่ใช่ว่าจะมีคนรักหรือพึ่งจะจากรักมา แต่ที่กล่าวถึงผู้หญิงก็เพราะเป็นธรรมเนียมการแต่งนิราศ เหมือนแม่ครัวจะปรุงอาหารประเภทพะแนงนอกจากจะใส่เครื่องปรุงและเนื้อสัตว์แล้วยังต้องใส่พริกไทยใบผักชีเพื่อเพิ่มความน่ารับประทานแก่อาหาร ผู้หญิงก็เหมือนพริกไทยใบผักชีเพื่อให้นิราศนี้น่าอ่าน ขอให้ทราบความจริงทุกๆ อย่างว่าสุนทรภู่ไม่ได้มีผู้หญิงเลย ขออย่าได้นินทาให้เสียเพราะคนที่มีความสามารถในเชิงกลอนเวลาเดินทางจะให้นั่งๆ นอนๆ เฉยๆ ก็จะน่าเบื่อจึงต้องแต่งกลอนเพื่อคลายเหงาและคลายความเศร้าใจ และฝากผลงานให้เป็นที่ประจักษ์
คุณค่าของเรื่อง
๑. คุณค่าทางวรรณศิลป์
คุณค่าทางวรรณศิลป์ในกลอนนิราศภูเขาทองมีการเลือกใช้คำดีเด่นต่างๆ ดังนี้
- สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระตัวเดียวกัน
- สัมผัสอักษร คือ คำที่มีอักษรคล้องจองกัน
- การซ้ำเสียง คือ การสัมผัสอักษรอย่างหนึ่ง นับเป็นการเล่นคำที่ทำให้เกิดเสียงไพเราะ การซ้ำเสียงจะต้องเลือกคำที่ให้จินตภาพแก่ผู้อ่านอย่างแจ่มชัดด้วย
- การใช้กวีโวหาร คือ นิราศภูเขาทองมีภาพพจน์ต่างๆ ที่กวีเลือกใช้ ทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงความคิด ความรู้สึกของกวี
- ภาพพจน์อุปมา คือ โวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่าเหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ
- ภาพพจน์กล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น
- การเลียนเสียง คือ กวีทำให้เสียงที่ได้ยินมาบรรยายให้เกิดมโนภาพและความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
- การเล่นคำ คือ การใช้ถ้อยคำคำเดียวในความหมายต่างกันเพื่อให้การพรรณนาไพเราะน่าอ่านและมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น
๒. คุณค่าด้านสังคม
นิราศภูเขาทอง สะท้อนวิธีการดำเนินชีวิตรวมไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นการบันทึกเส้นทางการเดินทางในสมัยนั้นและเป็นการบันทึกประวัติสถานที่ ในเรื่องนี้สุนทรภู่ยังให้ข้อคิดและคติธรรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตของคนอีกด้วย
๑. คุณค่าทางวรรณศิลป์
คุณค่าทางวรรณศิลป์ในกลอนนิราศภูเขาทองมีการเลือกใช้คำดีเด่นต่างๆ ดังนี้
- สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระตัวเดียวกัน
- สัมผัสอักษร คือ คำที่มีอักษรคล้องจองกัน
- การซ้ำเสียง คือ การสัมผัสอักษรอย่างหนึ่ง นับเป็นการเล่นคำที่ทำให้เกิดเสียงไพเราะ การซ้ำเสียงจะต้องเลือกคำที่ให้จินตภาพแก่ผู้อ่านอย่างแจ่มชัดด้วย
- การใช้กวีโวหาร คือ นิราศภูเขาทองมีภาพพจน์ต่างๆ ที่กวีเลือกใช้ ทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงความคิด ความรู้สึกของกวี
- ภาพพจน์อุปมา คือ โวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่าเหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ
- ภาพพจน์กล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น
- การเลียนเสียง คือ กวีทำให้เสียงที่ได้ยินมาบรรยายให้เกิดมโนภาพและความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
- การเล่นคำ คือ การใช้ถ้อยคำคำเดียวในความหมายต่างกันเพื่อให้การพรรณนาไพเราะน่าอ่านและมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น
๒. คุณค่าด้านสังคม
นิราศภูเขาทอง สะท้อนวิธีการดำเนินชีวิตรวมไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นการบันทึกเส้นทางการเดินทางในสมัยนั้นและเป็นการบันทึกประวัติสถานที่ ในเรื่องนี้สุนทรภู่ยังให้ข้อคิดและคติธรรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตของคนอีกด้วย
คนพาลที่ปากพูดดี แต่ในใจคิดร้าย สุนทรภู่ภู่เปรียบเสมือนอะไร ช่วยอธิบายย่อๆได้ไหม ไม่เข้าใจหาไม่เจอ
ตอบลบ