หลักการฝึกอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
หลักการฝึกอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
การอ่านออกเสียงบทร้อยกรองให้มีความไพเราะ
ถูกต้อง ต้องคำนึงถึงหลักการในการอ่าน ดังนี้
๑.
ฝึกอ่านให้ถูกต้องตามทำนองและลีลาของลักษณะคำประพันธ์
๒. ฝึกอ่านออกเสียงอักขระ คำควบกล้ำ
จะต้องอ่านให้ถูกต้องชัดเจน
๓. ฝึกอ่านเอื้อเสียงสัมผัส
เพื่อให้เกิดความไพเราะ เช่น
- “ข้าขอเคารพอภิวันท์” คำว่า เคารพอภิวันท์
ต้องอ่านว่า เคา-รบ-อบ-พิ-วัน เพื่อเอื้อเสียงให้สัมผัสกับคำว่า เคารพ
-
“มิใช่จักลืมคุณกรุณา” คำว่า กรุณา ต้องอ่านว่า กะ-รุน-นา
เพื่อเอื้อเสียงให้สัมผัสกับคำว่า คุณ
๔.
ฝึกอ่านออกเสียงให้เต็มเสียงและต่อเนื่อง ไม่ให้ขาดเป็นห้วงๆ
และฝึกสอดแทรกอารมณ์ให้เหมาะสมกับ
เนื้อเรื่อง
๕.
ฝึกอ่านเว้นวรรคตอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา
บางครั้งต้องอ่านรวบคำหรือผ่อนเสียงตามเนื้อหาเช่น “แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง”
ต้องอ่านว่า แขกเต้า-จับเต่าร้าง-ร้อง หมายถึง
นกแขกเต้าจับต้นเต่าร้างส่งเสียงร้อง
ถ้าหากอ่านเว้นวรรคตอนผิดความหมายก็จะผิดไปจากเดิม กลายเป็นว่า นกแขกเต้าจับเต่า
ไม่ใช่ จับที่ต้นเต่าร้าง เป็นต้น
๖.
ฝึกอ่านจากครูผู้สอนที่มีทักษะในการอ่านที่ถูกต้องหรือฝึกอ่านจากอุปกรณ์บันทึกเสียงจะช่วยให้เข้าใจศิลปะการออกเสียง
เช่น การเอื้อนเสียง การหลบเสียง การครั่นเสียง การกระแทกเสียง การทอดเสียง
การรวบคำ เพื่อนำทักษะดังกล่าวมาปฏิบัติด้วยตนเอง
การเอื้อนเสียง หมายถึง การลากเสียงให้เข้ากับจังหวะและไว้หางเสียงให้ไพเราะ
การหลบเสียง หมายถึง การปรับระดับเสียงที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปให้พอดีกับ
ระดับเสียงของตน
การครั่นเสียง หมายถึง การทำเสียงที่เปล่งออกมาให้สะดุด
ฟังแล้วรู้สึก
เศร้าสร้อย
การกระแทกเสียง หมายถึง การกระชากเสียงให้ห้วนสั้นเพื่อแสดงอารมณ์โกรธ
การทอดเสียง หมายถึง การยืดคำให้ยาวออกไปในตอนท้ายวรรคหรือตอน
ใกล้จะจบ
การรวบคำ หมายถึง การรวบคำที่มีหลายพยางค์ให้สั้นเข้า เพื่อให้ลงตรงจังหวะ
การแบ่งจังหวะวรรคตอนการอ่านตามชนิดของคำประพันธ์
๑. กาพย์ฉบัง๑๖
วรรค ๖
คำ แบ่งออกเป็น ๓
จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ
วรรค ๔
คำ แบ่งออกเป็น ๒
จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ
ตัวอย่าง ราชา / นารี / ร่ำไร มีกรรม
/ จำใจ
จำไป
/ พอปะ / พสุธา
มีไม้ / ไทรใหญ่ / ใบหนา เข้าไป
/ ไสยา
เวลา
/ พอค่ำ / รำไร
๒.
กาพย์ยานี ๑๑
วรรค ๕
คำ แบ่งออกเป็น ๒
จังหวะ จังหวะละ ๒
และ ๓ คำ
วรรค ๖
คำ แบ่งออกเป็น ๒
จังหวะ จังหวะละ ๓ คำ
ตัวอย่าง
รอนรอน /
อ่อนอัสดง พระสุริยง /
เย็นยอแสง
ช่วงดัง / น้ำครั่งแดง แฝงเมฆเขา
/ เงาเมรุธร
๓.
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
วรรค ๔ คำ
แบ่งออกเป็น ๒ จังหวะ
จังหวะละ ๒ คำ
ตัวอย่าง วันนั้น/ จันทร
มีดา / รากร เป็นบ- / ริวาร
เห็นสิ้น
/ ดินฟ้า ในป่า / ท่าธาร
มาลี
/ คลี่บาน ใบก้าน / อรชร
๔. กลอนแปด
(กลอนสุภาพ)
- วรรค
๗ คำ แบ่งออกเป็น
๓ จังหวะ จังหวะละ
๒-๒-๓ คำ
ตัวอย่าง
เทพทั้ง / เมืองฟ้า /
สุราลัย เป็นใย / บัวติด / สไบบาง
-
วรรคละ ๘
คำ แบ่งออกเป็น ๓ จังหวะ จังหวะละ
๓-๒-๓ คำ
ตัวอย่าง
โอ้จำใจ / ไกลนุช / สุดสวาท จึงนิราศ / เรื่องรัก / เป็นอักษร
ให้เห็นอก / ตกยาก /
เมื่อจากจร ไปดงดอน / แดนป่า / พนาวัน
กับศิษย์น้อง / สองนาย /
ล้วนชายหนุ่ม น้อยกับพุ่ม / เพื่อนไร้ / ในไพรสัณฑ์
กับนายแสง / แจ้งทาง /
กลางอารัญ จะพากัน / แรมทาง / ไปต่างเมือง
-
วรรค ๙ คำ แบ่งออกเป็น ๓
จังหวะ จังหวะละ ๓-๓-๓
คำ
ตัวอย่าง
ไม่เมาเหล้า / แล้วแต่เรา / ยังเมารักแต่เมาใจ
/ นี้ประจำ / ทุกค่ำคืน
๕. โคลงสี่สุภาพ
วรรค ๕
คำ แบ่งออกเป็น ๒
จังหวะ จังหวะละ ๒
และ ๓ คำ
วรรค ๔
คำ แบ่งออกเป็น ๒
จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ
ตัวอย่าง เสียงลือ
/ เสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อม / ยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือ / พี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่ / คิดเองอ้า อย่าได้ / ถามเผือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น