วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประโยคบกพร่องชนิดต่าง ๆ

ประโยคบกพร่องชนิดต่าง ๆ

1. การใช้คำกำกวม  คือ  การใช้คำที่มีหลายความหมายคิดได้หลายทาง  เช่น
          ครูเมตตาให้อาหารกลางเด็กยากจน
          ครูชื่อเมตตา หรือครูมีความเมตตา
ควรแก้เป็น       ครูมีความเมตตาให้อาหารกลางวันแก่เด็กยากจน


2. การใช้คำฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น  ทำให้ประโยคยาวแต่เยิ่นเย้อ  เช่น
          โทรทัศน์จะทำการถ่ายทอดสดรายการกีฬามวยสมัครเล่น
ควรแก้เป็น       โทรทัศน์จะถ่ายทอดสดรายการมวยสมัครเล่น


3. การใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ   ทำให้การเรียงลำดับคำของภาษาไทยผิดแปลกไป  เช่น
          มันเป็นอะไรที่ดีมากๆ เลยหนังสือเล่มนี้
ควรแก้เป็น       หนังสือเล่มนี้ดีมากๆ
          เราพบตัวเองอยู่บนเตียงนอน
ควรแก้เป็น       เราอยู่บนเตียงนอน


4. การใช้จำนวนนับนำหน้าประโยคไม่ใช้ลักษณนาม  การสร้างประโยคแบบนี้พบเห็นมากในภาษา
สื่อมวล ไม่ควรนำมาใช้ในภาษาเขียนทั่วๆ ไป  เช่น
          4 โจรบุกธนาคารฉกกว่า 3 ล้าน
ควรแก้เป็น       โจร 4 คนปล้นธนาคารได้เงินไป 3 ล้านบาท


5. การใช้คำผิดความหมายหรือใช้คำไม่เหมาะสม   ทำให้ประโยคนั้นสื่อความหมายผิดไป  เช่น
          วิทยาลัยมีหมายกำหนดการวันไหว้ครูเรียบร้อยแล้ว
          หมายกำหนดการ สำนักพระราชวังจะเป็นผู้ใช้เท่านั้น
          คนทั่วไปควรใช้ กำหนดการ
ควรแก้เป็น       วิทยาลัยมีกำหนดการวันไหว้ครูเรียบร้อยแล้ว

6. การใช้คำที่มีความหมายขัดแย้งกัน   ทำให้สื่อความหมายได้ไม่ชัดเจน  เช่น
          ผู้ร้ายรัวกระสุนใส่เจ้าของร้านทองหนึ่งนัด
ควรแก้เป็น       ผู้ร้ายยิงของร้านทองหนึ่งนัด

7. การใช้ประโยคผิดไวยากรณ์ คือ  อาจมีภาคประธานภาคแสดงไม่ครบถ้วนหรือเรียงคำผิดตำแหน่ง       เช่น
          บัณฑิตทุกคนล้วนใบหน้าสดชื่นแจ่มใส         ( ขาดกริยา )
ควรแก้เป็น       บัณฑิตทุกคนล้วนมีใบหน้าสดชื่นแจ่มใส
          เรื่องของฉันงานหนักๆ ชอบทำ                  ( เรียงคำผิดตำแหน่ง )
ควรแก้เป็น       เรื่องของฉัน  ชอบทำงานหนักๆ


8. การใช้ภาษาต่างระดับในประโยคเดียวกัน    คือ  การใช้ภาษาพูดปนกับภาษาเขียนใช้ภาษาเขียนปนกับภาษาการประพันธ์  ฯลฯ เช่น 
          มารดาคนนี้เป็นแม่ดีเด่นแห่งชาติ
ควรแก้เป็น       แม่คนนี้เป็นแม่ดีเด่นแห่งชาติ
          ดวงอาทิตย์ลากลับลับท้องฟ้า      ( คำประพันธ์ )    
ควรแก้เป็น       เมื่อสุริยาลากลับลับอัมพร


9. การใช้ประโยคไม่ครบใจความ     ในประโยคความซ้อนอาจมีส่วนขยายที่ยาวมากเพื่อให้ใจความครบสมบูรณ์  ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใดก็จะไม่ได้ความตามที่ควรจะเป็น  เช่น
          ถ้าทุกคนช่วยกันรักษาความสะอาดหน้าบ้านของตน
ควรแก้เป็น       ถ้าทุกคนช่วยกันรักษาความสะอาดหน้าบ้านของตนบ้านเมืองก็จะสะอาด


10. การใช้ประโยคไม่สละสลวย    ทำให้อ่านติดขัด  ไม่ราบรื่น  เช่น
          เมื่อก่อนผมไม่พูด
ควรแก้เป็น       เมื่อก่อนผมเป็นคนไม่ค่อยพูด


11. ประโยคที่ใช้เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน    ทำให้ข้อความขาดหายหรือไม่สมเหตุสมผล  เช่น
          คนไม่มีความรู้และความสามารถทำประโยชน์แก่บ้านเมืองได้มาก

ควรแก้เป็น       คนมีความรู้และความสามารถทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองได้มาก


4 ความคิดเห็น:

  1. ชายหนุ่มคนนั้นเป็นวิศวกรที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ต้องใช้ภาษาระดับทางการอย่างไร

    ตอบลบ
  2. ชายหนุ่มคนนั้นไม่สวมหมวกนิรภัย

    ตอบลบ
  3. ที่ีนี่รับเเก้กางเกง เเก้ไขยังไงค่ะ

    ตอบลบ
  4. เสื้อของผู้หญิงสวย แก้ไขประโยคนี้อย่างไงคับ

    ตอบลบ