วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์


การถอดคำประพันธ์ เรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

๑.  จะพูดถึงตำราฉันทศาสตร์ของเก่าที่ครูสอนไว้เปรียบได้กับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่ทำให้มองเห็นได้ชัดเจน
๒.  นำทางสัตว์ให้เห็นทางเดินอย่างชัดเจน (การดำเนินชีวิตที่ดี) หมอนวดและหมอยา ผู้เรียนรู้เวทมนตร์คาถาของศ.พราหมณ์
๓.  เรียนรู้ให้ครบทั้งหมด จนจบข้อความในตำราฉันทศาสตร์ที่ครูบอกให้เข้าใจสิบสี่หัวข้อควรจำไว้
๔.  เป็นแพทย์นี้ยากมากที่จะรู้จักเรื่องผลการกระทำที่ไม่ดีตัดทิ้งไปเรื่องความไม่ดี ทำความดีสิบสี่ข้อจึงจะเป็นคนซื่อสัตย์
๕.  เป็นแพทย์แต่ไม่รู้ในตำราเวทย์มนตร์คาถาที่ครูตั้งใจเรียนไว้รู้แต่ยามาประดับตัว รักษาไข้ไม่เกรงกลัว
๖.  หมอบางคนก็พูดโกหกซ้ำๆ ย้ำข้อความยกย่องตนเองว่ามีความรู้ดียิ่งในเรื่องยา
๗.  หมอบางคนก็รังเกียจคนไข้ที่แพทย์อื่นเคยรักษามาบ้างก็กล่าวหลอกลวง เขาเจ็บป่วยเล็กน้อยก็ว่าเป็นมาก
๘.  บ้างพูดอย่างเล่ห์กลกับคนไข้ว่าต้องใช้เงินหลายพันคาดว่าจะได้ของทันที เพราะเชื่อคำพูดของตนเอง
๙.  บางครั้งไปเยี่ยมคนไข้ ทั้งที่ไม่มีใครเชิญให้ไปพูดยกตัวอย่างถึงประโยชน์ของยาที่ตนรู้ให้คนฟังเชื่อ
๑๐.  หมอบางคนหมกมุ่นในกลอุบายให้คนเข้าใจผิด เพราะความโลภเข้าปิดบังรักษาโรคเพราะอำนาจความอยากได้
ความต้องการ
๑๑.  หมอบางพวกหยิ่งในฐานะตนว่าคนไข้ยากจนให้ยาไปจะเสียยา ไม่ได้รับของที่ควรจะได้รับ
๑๒.  หมอบางคนยึดมั่นว่าตัวเองอายุมาก เป็นหมอมานานมีความเชี่ยวชาญรู้เรื่องยา ไม่รู้ความสามารถของผู้อื่น
รักษาโรคได้ก็มีความสุข
๑๓.  ร่างกายแก่ ไม่เรียนรู้ให้มากดูหมิ่นผู้มีความรู้มากแม้เด็กแต่เป็นเด็กมีความชำนาญ  ใจไม่ควรคิดดูหมิ่น
๑๔.  เรียนรู้ให้ชำนาญ จบขอบเขตเนื้อหาตำราเวทมนตร์คาถาเริ่มตั้งต้นในฉันทศาสตร์ ตามที่บอกให้ทราบไว้
๑๕.  ตำราปฐมจินดาร์โชตรัต ตำราครรภ์รักษา ตำราอภัยสันตาตำราสิทธิสารนนท์ปักษี……..
๑๖.  ไข้หนักระยะใกล้ตาย สิ่งที่บอกให้รู้ว่าใกล้ตายตามตำราสรรพคุณ มีสิ่งที่บอกให้รู้ได้อีกในตำราธาตุบรรจบ
ตำราโรคนิทาน
๑๗.ฤดูและเดือนวัน ยังมีสาเหตุอีกหลายอย่างลักษณะของส่วนควบคุมร่างผิดปกติ ระยะเริ่มต้น ระยะเป็นมากขึ้น
และระยะทุเลา เบาลง
๑๘.  ตามที่กล่าวไว้เริ่มแรก ได้นำไปแยก อธิบายบอกให้รู้กล่าวย่อแต่ชื่อเอาไว้ ต้องการให้เรียนรู้จดจำ
๑๙.  ไม่รู้ตำราแพทย์ จะไม่ทราบผลที่โรคทำให้เกิดขึ้นแพทย์เอ๋ย อย่าชักช้าในการค้นหา เหมือนคนตาบอดมองไม่เห็นทาง
๒๐.  หมอคนใดจะหนีความทุกข์ ไปหาความสุขถึงดับกิเลสและกองทุกข์มีความหมั่นระลึกตนได้
ปฏิบัติตนได้อย่างนี้จึงเป็นสิ่งควรทำ
๒๑.  ศีลแปดและศีลห้ารีบรับมาปฏิบัติยึดปฏิบัติเป็นประจำ รวมทั้งยึดถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์    เป็นที่พึ่ง
๒๒.  เห็นสิ่งจะได้มาโดยไม่คาดคิด กำไรอย่าอยากได้จนไม่รู้จักพอ อย่าทำด้วยอำนาจ ด้วยการหลอกลวง         
เป็นไข้น้อยบอกว่าเป็นไข้หนัก พูดหลองลวงให้เกิดความกลัว
๒๓.  ความโกธรฉุนเฉียวจงยั้งใจ มีความอ่อนโยนอยู่ในตัวคนไข้ยิ่งขยาดกลัว ไม่ควรขู่ให้ยั้งใจไว้
๒๔.  ความโกธรอย่าหมกมุ่นหาอุบาย เพราะความต้องการทางผิดในการผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้นกับคนไข้ รวมทั้งผู้อื่นที่พูดหลอกลวง
๒๕.  มีความสงสัย จงเชื่อมั่นใจครูของตนเองอย่าสงสัยอาการที่ลวงให้หลง เห็นถูกต้องแน่แล้วต้องรีบให้ยารักษา
๒๖.  ความคิดฟุ้งซ่านอย่าคิด เห็นแน่ชัดว่าเป็นโรคอะไรให้ตั้งตัวเป็นพระยาราชสีห์เข้าสู้รบ
๒๗.  อีกอย่างหนึ่งให้ตื่นตัวตลอดเวลา อย่าง่วงเหงาเป็นสิ่งไม่ดีเห็นโรคทุเลาลง ให้ยาซ้ำลงอย่าละเลย
๒๘.  อย่าอวดดื้อถือดีพยายามนำเอาโรคที่เกินความสามารถมารักษารู้น้อยอย่ารีบลงมือรักษา วิธีใดที่ไม่รู้จริงอย่าทำ
๒๙.  อย่าเชื่อมั่นว่าตนดีกว่า ยังมีคนเก่งกว่าเรามากอย่าคิดว่าตนเหนือกว่าเด็กเล็กที่มีความชำนาญ
๓๐.  ผู้ใดที่รู้ปฏิบัติในทางดี ควรให้ความเคารพอย่าพูดเล่นสำนวนเรียนรับเอาไว้ปฏิบัติตามเสมอ รีบมีความเคารพเป็นเรื่องเหมาะสม
๓๑.  ครูที่เรียนรู้จากการไปอยู่ด้วยชั่วคราว และครูที่เรียนในสถานศึกษา เขียนหนังสือไว้ตามที่เรียนมา       
จนยึดเอาว่าครูดีเพราะได้เรียนจนชำนาญจึงได้ความรู้มา
๓๒.  ความลังเลใจเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรตัดทิ้งไป ในการมีจิตวิตก อกุศล ๓ อย่างเช่น ๑.พยาบาทวิตกมุ่งร้าย
๒.วิหิงสาวิตกการมัวเมาครุ่นคิดทำให้คนไข้เดือดร้อน ๓.กามราควิตกมุ่งร้ายเพราะความต้องการในนิสัยที่มีแต่มาตั้งแต่เกิด
๓๓.  รู้คิดมีเหตุผลถูกต้องให้ตรวจตราว่าเวลาใดทำจะไม่ดีหรือเวลาใดทำดีดูโรคกับดูยาให้ถูกกันโรคจะหายทันที
๓๔.  มีความละอายต่อการทำไม่ดีที่วุ่นวายไม่เรียบร้อยทั้งหลาย  (การทำไม่ดีมีมากมายหลายอย่าง) ทำลาย   
ให้หมดไปเป็นการทำให้ผลแห่งการทำไม่ดีหมดสิ้นไป
๓๕.  มีความเกรงกลัวการทำไม่ดีเป็นสิ่งสำคัญ ทำไม่ดีลับหลังไม่ควรทำกลัวการทำไม่ดีแล้วให้จำว่าแม้ต่อหน้าคนอื่นก็ไม่ทำ
๓๖.  อย่ารังเกียจคนไข้ที่ยากไร้ไม่มีช่องทางทำมาหากินผลประโยชน์ที่ได้มาก็นิดเดียว อย่ารังเกียจคนให้ดูแลรักษา
๓๗.  เท่านี้ที่บอกไว้ในตำราฉันทศาสตร์บทเริ่มต้นแต่เป็นกลอนบอกไว้อย่างละเอียด ผู้ใดเรียนรู้ได้ถูกต้องนับว่าเป็นผู้ได้รับความนับถือ
๓๘.  อีกอย่างจะสอนว่า กายนครมีอยู่มากเปรียบได้กับในร่างกายของหญิงชายทุกคนในโลก
๓๙.  จิตใจเปรียบได้กับกษัตริย์ผู้ครอบครองสมบัติอันยิ่งใหญ่(ร่างกาย)ข้าศึกเปรียบได้กับโรคที่เกิดมาทำลายภาย
ในร่างกายเรา
๔๐.  แพทย์เปรียบได้กับทหาร ที่มีความชำนาญรู้เรื่องที่อยู่(ร่างกาย)โรคเกิดให้คิดดีๆ ตรวจ หยุด
การแผ่ลามไว้ทุกแห่ง
๔๑.  ให้รักษากษัตริย์ไว้คือหัวใจรีบให้ยาอีกอย่างห้ามแพทย์มีความไม่พอใจอย่างรุนแรง โรคเกิดขึ้นอาจทำให้คนไข้ถึงแก่ความตาย
๔๒.  น้ำดีในตับมีหน้าที่ย่อยอาหารเปรียบเหมือนวังหน้า รีบตั้งใจรักษาให้ดีเพราะอาหารที่อยู่ในร่างกายเปรียบเหมือนเสบียงเลี้ยงกองทหาร (เลือด, เซลล์ ฯลฯ)
๔๓.  ทางทั้งสาม หัวใจ,น้ำดี,อาหาร รีบจัดเตรียมรักษาอย่าให้เชื้อโรคเข้ามาทำให้ทำงานไม่สะดวก
จะพลาดโอกาสรักษา
๔๔.  อีกอย่างมีค่ากล่าวหาแพทย์ที่มีความสามารถจากการเรียนรู้ ทำไมพูดแก้ความเข้าใจผิดก็ไม่ฟังกัน
๔๕.  ถามมาก็ตอบว่ารู้เรื่องการรักษาได้เป็นเรื่องจริงเพราะว่าโรคร้ายแรงเกินความสามารถจึงดื้อยา  รักษาไม่หาย
๔๖.  เมื่อเป็นน้อยรักษาหายได้ เป็นมาก รักษาหายยากมากไข้ที่หนักแล้วนั้น เปรียบเหมือนไฟป่าที่ลุกลามได้รวดเร็วและกว้าง
๔๗.  เป็นแพทย์ควรกำหนดจดจำว่า โอกาสที่ได้รักษาคนไข้มีอยู่ ๓ อย่าง ที่ทำให้ไม่ดีเสียชื่อเสียง
๑.บางทีรู้วิธีรักษาแต่มีสิ่งนำผลร้ายมาทำให้โรคที่เกิดเกินความรู้โรคที่มี
๔๘.  ๒.บางทีโรคนั้นไม่เคยรู้ เพราะโรคนั้นตนไม่มีความสามารถรักษา
๔๙.  ไม่มีความรู้รักษาโรคอีก โรคร้ายแรงนั้นอ้างว่าเป็นแรงกรรมทำให้รักษาไม่หายทำเกินความสามารถคนไข้ตายรู้สึกเสียใจในสิ่งที่ควรทำแต่ไม่ทำ  ๓.ไม่รู้แต่อวดดื้อถือดีว่าตนรู้ ก็ฝืนรักษาไข้ไป
๕๐.  บางทีก็โรคหาย แต่โรคหายเพราะยาก็พูดกล่าวอ้างว่า รู้จักรักษาโรคนั้นเป็นอย่างดี
๕๑.  แพทย์คนใดทำดีตามแบบอย่างคำสอนทางพุทธศาสนาในอนาคตจะได้รับผลแห่งการทำความดีมากมาย
๕๒.  เรียนรู้ให้รู้จริงๆ รู้ว่าเป็นโรคอะไรแน่อย่าลังเลรีบให้ยาซ้ำเข้าไป อย่ามั่นใจเพียงว่าทดลองยา
๕๓.  จะไม่รับรักษาก็ไม่รักษาแต่แรก รักษาไปคนไข้จะใกล้ตายจึงไม่รับรักษาอีก แพทย์คนนั้นเป็นคนที่ไม่มีความรู้อาการไข้ที่ปรากฏให้เห็น
๕๔.  ปิดบังไว้จนไข้หนักมาก แพทย์คนอื่นจะมารักษาก็ไม่ให้รักษาต่อเมื่อโรคนั้นเข้าขั้นที่ เสมหะ เลือด ลม
เป็นพิษใกล้ตายจึงไม่รักษาคนไข้นั้น
๕๕.  แพทย์เลวทราบพวกนี้ ไม่กลัวผลการทำชั่วทำให้ตัวเองได้รับผลการกระทำที่ไม่ดี ตายไปก็จะตกนรก
๕๖.  เรียนรู้ตำราเวทมนตร์คาถา รอบคอบเก็บไว้ไม่ต้องบอกใครเมื่อสมควรพูดจึงบอกให้ทราบ อย่านำสิ่งดีๆให้กับคนที่ไม่รู้คุณค่า
๕๗.  ไม่รักจะทำให้เสียหาย ทำให้ความรู้เผยแพร่ไปลงแรงสอนให้ก็ไม่ได้ผลตามต้องการ ทั้งบุญคุณก็ไม่มี
๕๘.  ได้รับความรู้แล้วตั้งคำถามทายตามสบาย ตั้งใจถามเพื่อทดสอบความรู้ความรู้ที่ได้รับมาก็จะหมดไป
เพราะเป็นคนพาลพูดไม่ดี
๕๙.  คนใดต้องการจะเรียนรู้ ต้องพิจารณาคนที่เป็นครูว่ารู้จริง รู้ละเอียด ทั้งการพุทธและไสย์ จึงสมควรจะ  
 ไปเรียนด้วย
๖๐.  เพียงแต่เป็นแพทย์ได้ คำราความรู้ทางคาถาเวทมนตร์ไม่รู้ครูคนนั้นไม่ควรเรียนด้วย
จะนำให้ผู้เรียนเข้าใจผิดพลาดได้
๖๑.  เราทราบว่าตำราฉันทศาสตร์เป็นตำราแต่งมานานบอกไว้เป็นแนวทางไปสู่นิพพาน ไปสู่แดนสบาย
๖๒.  อย่าดูหมิ่นว่าเรียนรู้ได้ง่าย ตำรามีวางเรียงอยู่มากมายรีบคิดอย่างนี้เป็นคนประมาท จริงๆแล้วไม่มีความสามารถอะไร
๖๓.  คัดลอกได้แต่ตัวหนังสือ ออกไปรักษาโดยจำแต่ตำราไปพูดแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่ามีความรู้ ความชำนาญ
จะรักษาโรคให้หายได้ทันที
๖๔.  อย่าพูดจากการคาดคะเนว่าโรคที่เป็นคือกรรมหนักที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันพูดหลอกลวงเพราะความต้องการสิ่งของ
๖๕.  หมอบางคนจำอาการไข้ที่แสดงให้เห็นเพียงอย่างเดียวที่ได้สังเกตมากองเลือดบอกว่าเป็นเสมหะ ลมที่ออกมามากบอกว่าเป็นความร้อนในตัว
๖๖.  ตำราบอกไว้ทุกเรื่อง ทำไมไม่จดไม่จำเอาไว้บอกว่าเป็นโรคอะไรจากการคิดเอาเองไม่มีเหตุผล ให้คนนับถือตนเอง
๖๗.  รู้น้อยอย่ากล้าทำเพราะหลงตัวเอง ขาดความรอบคอบเกี่ยวกับโรคความรุนแรงของโรคต้องใช้ยาที่ดี ไม่ควรคิดว่าเป็นเรื่องกรรมหนัก
๖๘.  อีกอย่างคนไข้พูดถาม อย่าพูดข้อความเพราะหลงตัวเองไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น พูดว่าตนจำไข้ลักษณะนี้ได้เพราะเคยให้ยา
๖๙.  ไม่ใช่โรคจะมีชนิดเดียวที่จะทำให้หายจากโรคทันทีลักษณะประจำตัวต่างกันก็ให้ยาต่างกันจึงจะถูกกับโรคที่เปลี่ยนไปจากลักษณะเดิม
๗๐.  บางทีก็ให้ยาถูกกับโรค แต่มีสิ่งร้ายเกิดขึ้น โรคจึงเป็นขึ้นอีกหายทุเลาลงไปแล้วเกิดเป็นกลับขึ้นใหม่
จะว่ายาไม่ดีก็ไม่ถูกต้อง
๗๑.  แสดงสรรพคุณยาเมื่อให้ยานั้นรักษา โรคยังไม่หายกลับพูดว่าผีร้ายแรงกว่า จริงๆแล้วทำไปเพราะไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร
๗๒.  เห็นสิ่งของอยากจะได้ ชอบใจก็ไม่เกรงกลัวทำความชั่วรู้น้อยแต่กล้าทำเพราะหลงตัว โรคหนักขึ้นเพราะผลของยา
๗๓.  โรคนั้นเปรียบกับความฉุนเฉียว จะเป็นมากขึ้นอย่างรวดเร็วแพทย์เร่งให้ยาซ้ำเข้าไป ก็ยิ่งร้ายแรงหนักขึ้น
๗๔.  มีความรู้อย่าแสดงความรู้ ควรพิจารณาอย่าประมาทควรให้ยาแค่ไหนหรือให้ยาแรงกว่าโรค
จึงเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
๗๕.  ระมัดระวังทำพอควร อย่ารีบร้อนทำให้โรคหายทันที อาการที่ดีอยู่อาจทรุดลงได้หากโรคที่รักษานั้นเป็นโรคอื่น จะพลาดผิดเพราะทำผิดพลาด
๗๖.  บ้างรู้แต่เรื่องยาระบาย ให้ยาไปถ่ายจนถึงขั้นน้ำดีผิดปกติเห็นคนไข้ใกล้ตาย จึงรีบแก้ตัวเพราะตกใจ
๗๗.  บ้างมีความรู้เฉพาะยากวาด อวดอ้างความสามารถไปทั่วไม่กลัวอันตรายโรคไม่หนักทำให้เป็นหนักขึ้นเหมือนก่อให้เกิดผลร้ายติดตัว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น